free hits
ผู้เข้าชมเว็บไซต์เริ่ม1 มกราคม 2556


คิวอาร์โค้ดสถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
Thailand Web Stat

     

   

สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี

    มี นายธิเบต คงนาวัง เป็นผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี

   มีหน้าที่บริหาร จัดการ และปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดินฯ ตามพันธกิจ / ภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย ในเขตพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ที่แบ่งการปกครองเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 1009 หมู่บ้าน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ออกเป็น 7 ส่วนงาน คือ

งานธุรการ

   มี นางสุพิชฌาย์ พันธุ์วิเศษ เป็นหัวหน้างานธุรการ
         มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ การเงิน การบัญชี พัสดุ ฯลฯ ประสานงาน ช่วยอำนวยการ กับหน่วยพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

งานวิชาการด้านการพัฒนาที่ดิน (งานปฏิบัติการสนาม)

   มีหน้าที่ ด้านการวิจัย การสาธิต การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ การฝึกอบรมเกษตรกร หมอดินอาสา บริการและเผยแพร่กิจกรรม/งานพัฒนาที่ดินท้องที่ต่างๆ ใน จ.สุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น 7 หน่วยฯ คือ

หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 1 นายทนง ไม้เลี้ยง เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่ อ.บางปลาม้าและ อ.สามชุก
หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 2 นายชัยวัฒน์ วงษ์ไร เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่ อ.เดิมบางนางบวชและ อ.ด่านช้าง
หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 3 นางสาวพัชรินทร์ บัวเอี่ยม เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่ อำเภอเมือง
หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 4 นางสาวไพริน เพ็งสุข เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่ อ.อู่ทอง
หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 5 นายภิญโญ หนูแก้ว เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่ อ.หนองหญ้าไซ และ อ.ดอนเจดีย์
หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 6 นางสาวกุลณัฐ   ศรีมูล เป็นหัวหน้าหน่วยฯ พื้นที่อำเภอศรีประจันต์ และอำเภอสองพี่น้อง

หมายเหตุ ข้อมูล จ.สุพรรณบุรี
   ประชากรทั้งหมด 849,053 คน จำนวน 283,486 ครัวเรือน ครัวเรือนเกษตรกร 83,370 ครัวเรือน ( สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.สุพรรณบุรี 2558 )
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,348,755 ไร่ ทำการเกษตรทั้งหมด 2,488,066 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 1,768,326 ไร่ (ได้ผลดี 219,950 ไร่) พื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน 353,100 ไร่
พืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ฯลฯ

   ลักษณะดิน (จากแผนที่กลุ่มชุดดิน)
- เป็นพื้นที่ดินนา รวม 6 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 1, 2, 3, 4, 7, และ 18 รวมพื้นที่ 1,477,395 ไร่
- เป็นพื้นที่ดินไร่ รวม 16 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 18, 29, 13, 33, 35,, 36, 38, 40, 41, 44, 46, 47, 48, 52และ 56 รวมพื้นที่ 1,393,620 ไร่
- เป็นพื้นที่ภูเขา คือ กลุ่มชุดดินที่ 62 รวมพื้นที่ 445,296 ไร่
- เป็นพื้นที่อื่นๆ รวมพื้นที่ 477,740 ไร่
   ดินปัญหา ที่พบ ประกอบด้วย
- พื้นที่ดินเปรี้ยว คือ กลุ่มชุดดินที่ 2 รวมพื้นที่ 310,790 ไร่
- พื้นที่ดินกรดจัด รวม 2 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 29 และ 35 รวมพื้นที่ 62,827 ไร่
- พื้นที่ดินด่างจัด รวม 2 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 47 และ 52 รวมพื้นที่ 90,628 ไร่
- พื้นที่ดินตื้น พบชั้นหินพื้น ลูกรัง หินปูน รวม 5 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 47, 48, 52, 55, และ 56 รวมพื้นที่ 196,198 ไร่
- พื้นที่ดินทรายจัด รวม 2 กลุ่มชุด ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 41 และ 44 รวมพื้นที่ 8,559 ไร่

   สภาพการใช้ดิน (สำนักสำรวจดินฯกรมพัฒนาที่ดิน 2556)
จังหวัดสุพรรณบุรี มีทั้งหมด 3,348,755 ไร่ ทำการเกษตร 2,488,066 ไร่ ประกอบด้วย
- พื้นที่ทำนา รวมพื้นที่ 1,423,149 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ รวมพื้นที่ 812,533 ไร่
- พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น รวมพื้นที่ 50,923 ไร่
- พื้นที่ปลูกไม้ผลยืนต้น รวมพื้นที่ 82,716 ไร่
- พื้นที่ปลูกพืชสวน รวมพื้นที่ 20,568 ไร่
- พื้นที่ทุ่งหญ้า โรงเรือน เลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่ 20,971 ไร่
- พื้นที่พืชน้ำ รวมพื้นที่ 4,116 ไร่
- พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมพื้นที่ 73,095 ไร่
- พื้นที่ป่า รวมพื้นที่ 406,518 ไร่
- พื้นที่น้ำ รวมพื้นที่ 115,150 ไร่
- พื้นที่เบ็ดเตล็ด รวมพื้นที่ 66,049 ไร่

           โครงการ/กิจกรรม ที่สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี ดำเนินการในปี 2566

   1. สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โครงการในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฯ และกลุ่มจังหวัดฯ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
   2. ออกหน่วยบริการคลินิกดิน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ (ให้บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ ให้คำแนะนำการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย และพืช สนับสนุนสารเร่ง พด.1 - พด.14 ปัจจัยการผลิต แก่หมอดินอาสา องค์กรต่างๆ และประชาชนทั่วไป
   3. ส่งเสริมการการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์ (พัฒนาต่อยอดกลุ่มเดิมที่เข้มแข็งฯ สนับสนุนถังหมัก กากน้ำตาล และวัสดุหมักฯมีการสาธิตและฝึกปฏิบัติในพื้นที่ )
   4. โครงการพัฒนาหมอดินอาสา หมอดินอาสาประจำตำบล 109 ราย หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน 1,009 ราย
   5. โครงการหมอดินน้อยในโรงเรียน ในพื้นที่ ต่างๆ ของ จ.สุพรรณบุรี
   6. จัดทำศูนย์ถ่ายทองเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้/บริการด้านการพัฒนาที่ดิน พัฒนาการเกษตรระดับจำอำเภอ 10 แห่ง และ ศพก.เครือข่าย 135 ศูนย์
   7. โครงการ ขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินตำบล( Smart Tambon ) ของจังหวัดสุพรรณบุรี
   8. ส่งเสริม การปรับปรุงบำรุงดินด้วยด้วยปุ๋ยพืชสด สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว(ปอเทือง) จำนวน 30 ตัน ร่วมรณรงค์การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุยพืชสด กับเกษตรกร องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   9. สร้างนิคมเกษตร (ข้าว) ที่ ต.บ้านช้าง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
   10. ปรับปรุงคุณภาพดินเปรี้ยว ด้วย ปูนมาร์ล จำนวน 1,400 ตัน รองรับพื้นที่ 1,400 ไร่ปรับปรุงดินกรด ด้วย โดโลไมท์จำนวน 450 ตัน รองรับพื้นที่ 900 ไร่และ สารปรับปรุงดิน และเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆ
   11. สนับสนุนระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง” LDD On Farm, Zoning By Agri-Map การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด” , คุยกับหมอดิน (ChatBot), บัตรดินดี ฯลฯ แก่ หน่วยงาน หมอดินอาสา และเกษตรกรทั่วไป
   12. โครงการรณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก” เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย อนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูดิน และสภาพแวดล้อม รณรงค์ปลูกหญ้าแฝกและ แจกจ่ายกล้าหญ้าแฝก แก่ประชาชนทั่วไป
   13. โครงการรณรงค์ไถกลบตอซัง เพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน
   14. โครงการรณรงค์งดเผาฟางและตอซังพืช หลังเก็บเกี่ยว
   15. โครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ลุ่ม ดอน
   16. โครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร
   17. โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
   18. ก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (1,260 ลบ.เมตร) พื้นที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
   19. รณรงค์ผลิตและใช้ปุ๋ยสูตรพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
20. โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

EditRegion3

นายธิเบต   คงนาวัง
ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
ทำเนียบผู้บริหาร

งานเกี่ยวข้องกรมพัฒนาที่ดิน


ข่าวจัดซื้อจัดจ้างย้อนหลัง