>> พด.14 ไตรโคเดอร์มา ป้องกันรากเน่าโคนเน่าในดิน? สายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้งานทั้งในและต่างประเทศมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เช่น Trichoderma Hazianum , Trichoderma viride, Trichoderma virens และ Trichoderma polysporum แต่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ ฮาเซียนั่มเป็นสายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพราะทนต่อสภาวะแวดล้อมในบ้านเราได้ดีและเจริญเติบโตดี ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น 1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium sp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอด 2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora sp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วงในลำไย 3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium sp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยว 4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ 5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum sp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น 6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria sp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น 7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium sp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ +++ สำหรับอัตราการใช้ของสารเร่ง พด.14 จะอยู่ที่ 1 ซอง(น้ำหนัก 80 กรัม) ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นได้ 1 ไร่ |
พด.2ย่อยสลายตอซังฟางข้าว? แบคมีเรียย่อยสลายโปรตีน แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน
แบคทีเรียละลายอนินทรียฟอสฟอรัส |
อยากเลี้ยงหมูเป็นอาชีพเสริม ที่ทำได้ง่ายๆ ช่องทางอาชีพ(เสริม)โดยใช้การเลี้ยงหมูหลุมประยุกต์ ให้เป็นเครื่องกำจัดขยะสดและเศษอาหารในครัวเรือน เศษพืช วัชพืช เช่น จอก แหน ผักตบชวา หญ้าขน ใบกระถิน หยวกกล้วย เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยหมักชั้นดีไว้ใช้ในไร่นา เพื่อใช้ในการปลูกผัก ไม้ผล พืชไร่หรือทำนา หรือขายขี้หมูเป็นรายได้เสริม รายได้จากการขายหมูป่า(ให้ร้านอาหารป่า) เป็นเงินก้อน เป็นกระปุกออมสินประจำครัวเรือน ซึ่งเกษตรกรและประชาชนสามารถเลี้ยงได้ในชุมชนโดยไม่ มีมลภาวะ ทั้งทางเสียง ทางกลิ่น และของเสียในชุมชน ด้วยการเลี้ยงลูกหมูป่า 4 ตัว ในโรงเรือน ขนาด 4x3 เมตร = 12 ตารางเมตร พื้นดินหรือคอนกรีต หลังคามุงจากหรือกระเบื้อง กั้นคอกด้วยอิฐบล็อกสูง 4 ก้อน แล้วทำเป็นลูกกรงเหล็กหรือไม้ขึ้นมาอีกประมาณ 30 เซนติเมตร ประตูคอกทำเป็นลูกกรงเหล็ก กว้าง 60 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร รายจ่าย ในการเลี้ยงหมูหลุมประยุกต์ รวมค่าใช้จ่าย สิ่งก่อสร้างและวัสดุถาวร เป็นเงิน 10,500 บาท รวม ค่าใช้จ่าย วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุในการเลี้ยง เป็นเงิน 11,220 บาท รวมค่าใช้จ่าย วัสดุถาวร และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง ประมาณ 21,720 บาท รายรับ-จากการขายหมูป่า และขี้หมู (ทุก 6 เดือน แล้วแต่ปริมาณอาหารและความรีบเร่งในการเลี้ยง) รายได้จากการขายหมู 4 ตัว ตัวละ 60 กิโลกรัม ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท จากการขายขี้หมู(จากวัสดุรองพื้นที่ใช้หมัก ปีบละ 30 บาท) เป็นเงิน 7,200 บาท รวมรายได้ เป็นเงิน 22,800 บาท กำไรสุทธิ 6 เดือนแรก = 22,800 – 21,720 เป็นเงิน 1,080 บาท (เพราะมีต้นทุนสิ่งก่อสร้างและวัสดุถาวร) 6 เดือนหลัง และรุ่นต่อๆไป = 22,800 – 11,220 เป็นเงิน 11,580 บาท = ปีแรก กำไรสุทธิ 12,660 บาท = ปีต่อๆไป กำไรสุทธิ 23,160 บาท ด้านการเรียนรู้ แบบอย่างที่ดีเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปและลูกหลานในครอบครัว ที่สามารถมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการขยะ ของเสีย วัสดุเหลือใช้ในบ้าน ในไร่นา และการพึ่งพาตนเอง แบบครบวงจร อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน |
ขอทราบเกี่ยวกับขุดบ่อในที่ตนเอง ในพื้นที่เกษตรกร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 2,500 บาท/บ่อ เป็นค่าย้ายเครื่องจักร ปี 2557 พัฒนาที่ดินสุพรรณ. มีเป้าหมายดำเนินการ 110 บ่อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของพัฒนาที่ดิน จะพิจารณาหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อขุดสระ มีดังนี้ พิจารณา ของแหล่งน้ำในไร่นา ขนาด 1,260 ลบ.ม. และระบุจำนวนที่ต้องการ |
หญ้าแฝกและหญ้าคาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? หญ้าแฝกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ท้องใบออกสีขาวซีดกว่าด้านหลังใบ รากมักมีกลิ่นหอม สามารถปลูกและขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก หรือมีความชื้นในดินค่อนข้างสูง หากขาดน้ำใบจะม้วน แห้งและตายได้ง่าย อายุการใช้งานน้อยกว่าแฝกดอน แต่มีปริมาณรากค่อนข้างมากและลึก เนื้อใบหยาบ สากคาย ท้องใบสีเดียวกับหลังใบแต่สีซีดกว่า การขยายพันธุ์ต้องพิถีพิถัน(ขยายพันธุ์ยาก)กว่า หญ้าแฝกลุ่ม เจริญเติบโตช้าในช่วงแรก แต่เมื่อปลูกและรอดตายแล้วจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า เจริญเติบโตได้ดีในเกือบทุกสภาพพื้นที่ ทนแล้งและทนสภาพน้ำแช่ขัง ทนทานต่อโรค แมลงและศัตรูพืชต่างๆ ได้ดี ใบหญ้าแฝกนำมาสานเป็นตับ ใช้มุงหลังคาได้ทนทานกว่าหญ้าคา ทรงกอ ส่วนที่มองเห็นบนผิวดิน คล้ายกัน โดยจะมีลักษณะลำต้นตั้งตรง โคนต้นมีลักษณะกลม ใบแบนยาว ขอบใบคม มีรากน้อย แต่มีขนาดใหญ่และตื้น ส่วนที่เรียกว่าใหล(stolon) อยู่ใต้ดินเลื้อยไปใต้ดิน ทำให้ยากต่อการทำลาย โดยส่วนของไหลและรากของหญ้าคา ยังปลดปล่อยฮอร์โมน และสารพิษที่ยับยั่งการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นข้างคียง หรือปลูกร่วม นอกจากนี้เมล็ดยังปกคลุมด้วยขนสีขาวคล้ายไหม เมื่อแก่สามารถปลิวไปตามลมระบาดไปได้ไกลอีกด้วย |
หมอดินคือใคร มีประโยชน์อะไรกับชุมชน พวกเกษตรแต่มีภารกิจ/พันธะกิจหลายอย่างต่างกัน “หมอดิน” เช่น สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สังกัด สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมอดิน ที่มีความหมาย 2 นัย นัยแรก คือ ผู้รอบรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน การจัดการดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดิน เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากดินและที่ดินในการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นัยที่ 2 คือ ผู้รักษา เพราะที่ผ่านมาเราใช้ดินและที่ดินอย่างประมาท ขาดการระมัดระวัง ปัจจุบันทั้งสภาพทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน(สุขภาพของดิน) จึงเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก บางแห่งถึงขั้นวิกฤติที่เรียกว่า ” ดินป่วย ” ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ได้อย่างคุ้มค่า หมอดินต้องทำหน้าที่รักษา (ปรับปรุง) ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ดีดังเดิม หรือมั่นคอยดูแลรักษา(อนุรักษ์) ดินที่อุดมสมบูรณ์(สุขภาพดี)ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป |
หมูหลุมทำไมต้องใช้หมูป่า ของตลาดให้คัดเลือกตัวใหญ่ๆ แข็งแรง โตเร็ว โดยผสมกับพ่อพันธุ์ที่เป็นหมูป่า เพราะแข็งแรง ทนโรค หากินเก่ง กินง่าย ข้อเสีย คือ บางตัวกินลูก ลูกตัวเล็ก ให้ลูกไม่ดก ให้คัดเลือกตัวใหญ ่ยาว แข็งแรง อัณฑะใหญ่ **จะได้"หมูป่าลูกผสมเหมยซาน” ที่เลี้ยงง่าย ให้ลูกดก แข็งแรง และทนต่อโรค ที่สำคัญคือ “หมูป่าลูกผสมเหมยซาน” เลี้ยงง่าย กินอาหาร เศษอาหาร เศษพืช วัชพืช (ที่ไม่ใช่พืชพิษ) ได้ทุกอย่าง ภูมิต้านทานโรคสูง |
ยาลมเบ่งข้าว โดยหลักการสารลมเบ่งจะใช้ฉีดช่วงระยะข้าวตั้งท้อง ก่อนข้าวออกดอก เพื่อให้ข้าวออกดอกพร้อมกัน จะทำให้ทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียได้ผสมกันได้พร้อมเพรียงกัน ผลที่ตามมาก็ คือข้าวจะออกรวงพร้อมกัน น้ำหนักก็จะเยอะตาม ทำให้ผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้น อัตราการใช้ ; 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วงที่เหมาะสม 1) ช่วงข้าวตั้งท้อง ก่อนออกดอก 2) ช่วงหน้าหนาวที่ข้าวเจริญเติบโตช้าครับ |
EMกับน้ำหมักชีวภาพ ที่มีประสิทธิภาพ( Effective Microorganisms ) หรือ EM ชนิดหนึ่ง แต่ Effective Microorganisms หรือเรียกย่อๆ ว่า EM ที่คุณโสภา กล่าวถึง คงหมายถึง EM ที่ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านได้ทำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกการใช้ น้ำหมักชีวภาพ Effective Microorganisms หรือ EM เพื่อการเกษตร และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในยุคแรกๆ |
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในนาข้าวที่ชาวบ้านทำได้ง่ายๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว จะทำให้การทำเกษตรอินทรีย์ ประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบหลายปัจจัย ที่เกษตรกรต้องรู้ โดยพิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์ยึดหลักความเป็นจริง ก่อนตัดสินใจทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรทั่วๆไป ต้องดูทั้งข้อดีและข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ข้อดีของ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินคือทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดี เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ ช่วยปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน เพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน ช่วยละลายแร่ธาตุในดิน ให้พืชใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของดิน (pH) ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกินไป ช่วยปรับปรุงสมบัติทางด้านชีวภาพของดิน โดยการช่วยเพิ่มชนิด ปริมาณและส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ และสัตว์ที่มีขนาดเล็กในดินเพราะอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของจุลินทรีย์และสัตว์ที่มีขนาดเล็กในดิน ช่วยปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน โดยช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุให้แก่ดิน นอกจากนั้นปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดยังมีจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศได้ด้วย หรือช่วยให้ธาตุอาหารในดินถูกปลดปล่อยออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ยังช่วยทำให้ต้นพืชแข็งแรง และมีความต้านทานต่อโรคและหรือแมลงศัตรูพืชมากขึ้นด้วย |
ความรู้เรื่องแฝก ช่วงนี้เห็นมีการรณรงค์ให้ปลูกกัน ทุกชนิดหญ้าแฝกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. หญ้าแฝกลุ่มหรือหญ้าแฝกหอม ( Vetiveria zizanioides ) มีต้น ใบและทรงกอตั้ง หลังใบมีลักษณะโค้งมน ปลายใบแบน สีเขียวเข้ม เรียบเป็นมันและมีลักษณะอวบน้ำ ท้องใบออกสีขาวซีดกว่าด้านหลังใบ รากมักมีกลิ่นหอม สามารถปลูกและขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก หรือมีความชื้นใน ดินค่อนข้างสูง หากขาดน้ำใบจะม้วน แห้งและตายได้ง่าย อายุการใช้งานน้อยกว่าแฝกดอน แต่มีปริมาณรากค่อนข้างมากและลึก 2. หญ้าแฝกดอน(Vetiveria nemoralis ) มีทรงต้น ใบตอนปลายโค้งลงคล้ายกอตะไคร้ มีทรงกอที่แข็งแกร่ง มีทรงกอที่แข็งแกร่ง ใบมีสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบ สากคาย ท้องใบสีเดียวกับหลังใบแต่สีซีดกว่า การขยายพันธุ์ต้องพิถีพิถัน(ขยายพันธุ์ยาก)กว่า หญ้าแฝกลุ่ม เจริญเติบโตช้าในช่วงแรก แต่เมื่อปลูกและรอดตายแล้วจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า |