สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1


ทะเบียนวิจัย 64 65 01 07 020202 102 01 23
ชื่อโครงการวิจัย ประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจำลองการปลูกพืชเพื่อประเมินช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับพืชหลังนา
  Application of crop modeling for evaluation crop planting date after rice harvest
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปรารถนา ปลอดดี
ผู้ร่วมดำเนินการ นางสาวกรรณิการ์ หอมยามเย็น นายชาญณรงค์ เขตแดน  นางสาวนิรมล เกษณา  นางสาวกชกร กานตารัมภ์  นางมลสิกานต์ ทัศวิล  นายโกศล เคนทะ

บทคัดย่อ
การศึกษาการประยุกต์ใช้โปรแกรมแบบจำลองการปลูกพืชเพื่อประเมินช่วงเวลาการปลูกและการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับพืชหลังนา จากการวิเคราะห์สภาพสมดุลน้ำของข้อมูลสภาพภูมิอากาศรายเดือนเฉลี่ย 10 ปี (พ.ศ. 2554-2563) พบว่า ช่วงเวลาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ควรปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมและทันเวลาเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนฤดูทำนาในรอบถัดไป และไม่ควรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังเดือนธันวาคมเพราะจะทำให้ระยะออกดอกตรงกับช่วงอุณหภูมิสูง อาจทำให้ช่อดอกและไหมแห้ง ผสมไม่ติด ส่งผลให้เมล็ดไม่เต็มฝัก โดยศึกษาการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับพืชหลังนาในกลุ่มเนื้อดิน 3 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มดินเหนียว 2) กลุ่มดินร่วนละเอียด และ 3) กลุ่มดินร่วนหยาบ โดยกำหนดการให้น้ำ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การให้น้ำตามวิธีของเกษตรกร (ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 50%) 2) ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 35% 3) ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 40% และ 4) ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 45% จากค่าความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดินเริ่มต้น ผลการศึกษา พบว่า ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มเนื้อดิน 3 ประเภท และการให้น้ำทั้ง 4 รูปแบบ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การให้น้ำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาจำนวนน้อยครั้งที่สุด คือ จำนวน 4 ครั้งต่อฤดูการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาจะทำให้ลดต้นทุนในการให้น้ำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาได้
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแนวโน้มของผลผลิตตามกลุ่มเนื้อดิน พบว่า กลุ่มดินเหนียว จำนวนการให้น้ำที่เหมาะสม 4 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต ด้วยวิธีการให้น้ำของเกษตรกร (ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 50%) มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงสุด (1,386 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มดินร่วนละเอียด จำนวนการให้น้ำที่เหมาะสม 6 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต (ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 45%) มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงสุด (1,007 กิโลกรัมต่อไร่) ส่วนกลุ่มดินร่วนหยาบ จำนวนการให้น้ำที่เหมาะสม 8 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต (ให้น้ำเมื่อค่าวิกฤตของน้ำที่พร่องไป 40%) มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงสุด (1,502 กิโลกรัมต่อไร่) และเมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มดินร่วนหยาบให้น้ำ 8 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต มีกำไรสุทธิสูงที่สุด 7,526 บาทต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ กลุ่มดินเหนียวให้น้ำ 4 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต มีกำไรสุทธิ 6,956 บาทต่อไร่ และกลุ่มดินร่วนละเอียด คือ ให้น้ำ 6 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต มีกำไรสุทธิ 3,893 บาทต่อไร่

ดูฉบับเต็มคลิกที่นี่

แนะนำผู้บริหาร

นางนงนุช ศรีพุ่ม
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1

ค้นหา



 
 
 
 
 
 
 
 

แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ

มุมประชาสัมพันธ์กรมพัฒนาที่ดิน