สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1


ทะเบียนวิจัย 62 64 06 32 020001 013 103 02 11
ชื่อโครงการวิจัย การสำรวจการกระจายตัวของดินเปรี้ยวจัดเพื่อจัดทำแผนที่ความต้องการปูนของประเทศไทยและการศึกษาระยะเวลาที่ปูนตกค้างในดินหลังจากใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอชของดินเปรี้ยวจัด
  Surveying on distribution of acid sulphate soil to create lime requirement map and study on residue time after liming for increasing soil pH of acid sulphate soil.
สถานที่ดําเนินการ
 
จังหวัดนครนายก กลุ่มชุดดินที่ 11 ชุดดิน รังสิต Rangsit Series : Rs
จังหวัดสระบุรี  กลุ่มชุดดินที่ 2 ชุดดิน มหาโพธิ์ Maha Phot Series : Ma
ผู้ร่วมดำเนินการ นางสาวนัทฐา ทักษ์รัตนศรัณย์ นางสาวฐนชนก คำขจร นางสาวกัญจน์รัชต์ ลชิตาวงศ์
นางสาวอรพิชา วรภักดี นายกฤดิโสภณ ดวงกมล และนางสาวชนิดา เกิดชนะ

บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ทดลอง การทดลองแรกเพื่อจัดทำแผนที่ความต้องการปูน (LR) จากชุดดินหลัก และศึกษาความสัมพันธ์ความต้องการปูนกับสมบัติทางเคมีดิน บริเวณพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดภาคกลางของประเทศไทย สำหรับเป็นแนวทางในการใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอชดิน ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย โดยสุ่มเก็บชุดดินตัวแทนที่เป็นดินเปรี้ยวจัด จำนวน 93 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการของดิน ประมาณค่าช่วงเชิงพื้นที่ของปริมาณความต้องการปูนด้วยวิธีทางธรณีสถิติ Inverse Distance Weighted (IDW) วิเคราะห์ความแตกต่างความต้องการปูนระหว่างชุดดินด้วย One-way ANOVA และหาความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรด้วย Pearson’s correlation การศึกษานี้ จัดกลุ่มข้อมูลชุดดิน เป็นจำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) ชุดดินอยุธยา (Ay) ชุดดินบางน้ำเปรี้ยว (Bp) และชุดดินมหาโพธิ์ (Ma) 2) ชุดดิน ฉะเชิงเทรา (Cc) 3) ชุดดินองค์รักษ์ (Ok) 4) ชุดดินรังสิต (Rs) 5) ชุดดินเสนา (Se) และ 6) ชุดดินธัญบุรี (Tan) พบว่าชุดดิน Rs มีค่าเฉลี่ยความต้องการปูนมากที่สุด 1,647 kgCaCO3/Rai ตามด้วยชุดดิน Ok ที่มี ความต้องการปูน 1,591 kgCaCO3/Rai ในขณะที่ปริมาณความต้องการปูน ต่ำสุด 468 kgCaCO3/Rai พบในกลุ่มชุดดิน Ay, Bp, Ma และ ชุดดิน Cc สำหรับความต้องการปูนสูงสุด 3,120 kgCaCO3/Rai พบในกลุ่มชุดดิน Ay, Bp, Ma จากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยตามกลุ่มชุดดิน พบว่า ความต้องการปูนของชุดดิน Rs มีมากกว่ากลุ่มชุดดิน Ay, Bp, Ma (p-value = 0.02) และชุดดิน Cc (p-value = 0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจัดตัวอย่างดินตามระดับความรุนแรงของ pH พบว่าดินที่มีสภาพกรดรุนแรงมากจะมีความต้องการปูนสูงกว่าดินที่มีสภาพกรดจัดมาก และดินที่มีสภาพกรดจัดตามลำดับ นอกจากนี้ LR มีความสัมพันธ์กับ pH, Mn, Cu และ Zn มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่าง 0.525- 0.768 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งทางสถิติ (p-value ≤ 0.001) แผนที่ความต้องการปูนในการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการใส่ปูน เพื่อยกระดับพีเอชของดินเปรี้ยวจัดได้เบื้องต้น หากต้องการความแม่นยำในระดับที่สูงขึ้นแนะนำให้ใช้สมบัติทางเคมีที่มีความเกี่ยวข้องกับ LR เป็นตัวแปรร่วมในการทำนายค่า LR ในแผนที่ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรได้ในระยะยาว
การทดลองที่ 2 การศึกษาระยะเวลาที่ปูนตกค้างในดินหลังจากใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอชของดินเปรี้ยวจัด ณ โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา โดยปลูกข้าวเป็นพืชทดสอบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) 5×3 รวม 15 ตำรับการทดลอง ศึกษาอัตราของปูนตามตำรับการทดลอง ดังนี้ T1 ใส่ปูนตามกรรมวิธีของเกษตรกรอัตรา 2 ตันต่อไร่, T2 ใส่ตามความต้องการปูน 1,800 กก./ไร่, T3 ใส่ปูนโดยลดอัตราลง 0.5 เท่าของความต้องการปูน 900 กก./ไร่, T4 ใส่ปูนเพิ่ม 0.5 เท่าของความต้องการปูน 2,700 กก./ไร่ และ T5 ไม่ใส่ปูน (ตำรับควบคุม) ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโตและผลผลิตของ T2 ให้จำนวนต้น ต่อพื้นที่ จำนวนเมล็ดดี (เมล็ดต่อรวง) เฉลี่ยสูงที่สุด ผลผลิตต่อไร่ treatment ที่ 4 (ใช้ปูน 2,700 กก/ไร่) ให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 563 กก.ต่อไร่ รองลงมาคือ treatment 1 (ใช้ปูน 2,000 กก/ไร่) ผลผลิต 436 กก.ต่อไร่ และ treatment 5 ให้ผลผลิตต่ำที่สุด (ไม่ใส่ปูน) โดยมีผลผลิต 303 กก.ต่อไร่ จากผลการทดลอง แนะนำให้ใส่ตามความต้องการปูนอัตรา 1.8 ตันต่อไร่ร่วมกับธาตุ NPK ตามค่าวิเคราะห์ดิน (T2) เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่ที่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ และมีจำนวนเมล็ดดีสูงที่สุด (จำนวนเมล็ดต่อรวง) เมื่อเทียบกับ treatment อื่น

ดูฉบับเต็มคลิกที่นี่

แนะนำผู้บริหาร

นางนงนุช ศรีพุ่ม
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1

ค้นหา



 
 
 
 
 
 
 
 

แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ

มุมประชาสัมพันธ์กรมพัฒนาที่ดิน