งานจัดระบบฯ สพ.1/2559(เขตพัฒนาที่ดิน)

       

      วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 นางสาวพัชรินทร์ บัวเอี่ยม(นักวิชาการเกษตรชำนาญการ)นายชัยวัฒน์ วงษ์ไร(นักวิชาการเกษตรปฎิบัติการ) ได้ออกตรวจเยี่ยมงานจัดระบบฯ เขตพัฒนาที่ดินอนุรักษ์ดินและน้ำ ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองและตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 
      เขตพัฒนาที่ดิน หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ําย่อยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ดําเนินการ พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดทําระบบ อนุรักษ์ดินและน้ําทั้งวิธีกล และ วิธีพืชเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การปรับปรุงบํารุงดินที่มีปัญหา (ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด และดินที่มีปัญหาต่าง ๆ ) รวมทั้ง การฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดินที่มีปัญหาต่าง ๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นการสาธิตให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ฯ การฟื้นฟูและปรับปรุงบํารุงดิน ฯลฯ

มีขั้นตอนการดําเนินงาน 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. สถานีพัฒนาที่ดิน (สพด.) คัดเลือกพื้นที่ทําการเกษตรที่มีปัญหาทรัพยากรที่ดิน และเกษตรกรมีส่วนร่วมวงขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยลงบนแผนที่ภูมิประเทศ นําเสนอสํานักงานพัฒนาที่ดินเขต (สพข.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้กองแผนงาน (กผง.) รวบรวมจัดส่งให้สํานักเทคโนโลยีการสํารวจและทําแผนที่(สสผ.) ระบุชื่อลุ่มน้ําย่อย ลุ่มน้ําสาขาลุ่มน้ําหลัก บ้าน ตําบล อําเภอ จังหวัด
2. สํานักเทคโนโลยีการสํารวจและทําแผนที่ (สสผ.) ดําเนินการวงรอบขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยตามที่ สพด.คัดเลือกลงในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี 1:4,000/1:25,000 (กรณีที่เป็นลุ่มน้ําย่อยขนาดใหญ่มาก)พร้อมเสนระดับความสูง เป็นภาพพิมพ์และดิจิตอล 2 ชุด โดยจัดส่งให้สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน(สสว.) 1 ชุด และ สพข. 1 ชุด
3. สสว. จัดทําแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ําย่อยเบื้องต้น มาตราส่วน 1:25,000 หรือ 1:50,000 พร้อมทั้งจัดทําแผนที่ดิน (soil map) แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน (present land use)แผนที่แหล่งน้ําและชลประทานแผนที่ป่าไม้ตามกฎหมาย แผนที่เขตการใช้ที่ดินเบื้องต้น จัดส่งให้สพข. เพื่อใช้ประกอบการวางแผนดําเนินการในพื้นที่ต่อไป
4. สพข. และ สพด. ร่วมกันดําเนินการดังนี้
         4.1 กรณีลุ่มน้ําย่อยที่คัดเลือกดําเนินการครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น มีพื้นที่มากกว่า 100,000ไร่ขึ้นไป ให้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่จะดําเนินการในระยะแรกก่อนโดย สพข. เป็นผู้รับผิดชอบในการวงรอบขอบเขตพื้นที่ดําเนินการลงแผนที่ให้สพด. ตามที่เห็นชอบร่วมกันแล้ว
         4.2 เก็บรวบรวมข้อมูลและแผนที่พื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ถนน หมู่บ้าน ลําน้ํา แหล่งน้ํา พื้นที่ชลประทาน ลักษณะดิน การถือครองที่ดิน พื้นที่ป่าตามกฎหมาย พื้นที่ ส.ป.ก. นิคม สทก. ภบท.6แผนพัฒนาเกษตรระดับตําบล แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดินระดับตําบล เขตการใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ สภาพ
ภูมิอากาศ ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
         4.3 จัดทําข้อมูลแผนที่ชนิดต่างๆ ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ําย่อยครอบคลุมทั้งลุ่มน้ําย่อย (1:25,000)
         4.4 วางแผนการใช้ที่ดินต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา ประกอบด้วยเขตอนุรักษ์ เขตพัฒนาลุ่มน้ําย่อยและระดับไร่นา สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี Email : spb01@ldd.go.th ,http://r01.ldd.go.th/spb/
         4.5 จัดทําแผนที่ในพื้นที่จัดทําระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา จัดทําแผนที่ ชนิดต่างๆ มาตราส่วน1:4,000 เช่น แผนที่ดิน แผนที่ถือครอง แผนที่การใช้ที่ดิน ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
         4.6 กําหนดกิจกรรมที่จะดําเนินการในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ําย่อย โดยใช้งบปกติ จําแนกเป็น 2 ส่วนคือ
1) กิจกรรมที่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยที่คัดเลือกเต็มพื้นที่ภายใน 1 ปีเช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ํา การทําเกษตรอินทรีย์เช่น การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์
พืชปุ๋ยสดและสารเร่งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ และสารปรับปรุงบํารุงดิน เป็นต้น การรณรงค์งดเผาฟางและตอซังพืชอบรมให้ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินกับพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆจัดทําศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียง และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้บริการวิเคราะห์ดิน การอบรมหมอดินอาสา
2) กิจกรรมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีการดําเนินการมากกว่า 1 ปีต้องวางแผนเป็นระยะตามงบประมาณที่ได้รับ เช่น งานจัดทําระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา เป็นต้น จัดทําแผน1-3 ปีให้ดําเนินการสํารวจออกแบบ และประเมินราคาตามกระบวนการดําเนินการที่เคยทําตามขั้นตอนไว้ล่วงหน้าให้ครบถ้วน และดําเนินการตามแผนที่วางไว้
5. สรุปและจัดทํารายงานผลการดําเนินงานเสนอกรมฯ