|
|
คำถามที่พบบ่อย (FAQ : Frequently Asked Questions) |
|
|
คำถาม : |
อะไรคือ หมอดินอาสา ? |
ตอบ : |
หมอดินอาสา หมายถึง เกษตรกรที่เป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายปฏิบัติงานใน |
|
ระดับหมู่บ้าน
เรียกว่า หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ระดับตำบล
เรียกว่า หมอดินอาสาประจำตำบล ระดับอำเภอ เรียก |
|
ว่าหมอดินอาสาประจำอำเภอ และระดับจังหวัดเรียกว่า หมอดินอาสาประจำจังหวัด อาสาเข้ามาช่วยกรมพัฒนาที่ดิน |
|
ดูแลรักษาทรัพยากรของท้องถิ่น โดยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดิน และเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินใน |
|
ชุมชน เคียงคู่ไปกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน |
|
|
|
|
คำถาม : |
จะขอรับกล้าหญ้าแฝกได้ที่ไหน ยังไง เท่าไหร่ ? |
ตอบ : |
กล้าหญ้าแฝกสามารถติดต่อขอรับได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินตามแต่ละจังหวัดที่ผู้ขออาศัยอยู่ เพื่อความสะดวกในการ |
|
ติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินจะดำเนินการติดตามผลการนำไปใช้ปีละครั้ง สามารถขอได้ |
|
ตามความต้องการแต่ไม่กิน 20,000 กล้า/ราย โดยสามารถคำนวนความต้องการได้จากพื้นที่ปลูกดังนี้ |
|
|
|
ระยะทางการปลูกในแนวเส้นตรง = ระยะทาง (เมตร) X 20 ต้น |
|
|
|
ซึ่งปกติจะมีระยะห่างระหว่างต้นคือ 5 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวคือ 2 เมตร |
|
|
|
|
คำถาม : |
จะขอรับน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.2 กับ สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นจากสารแร่ง พด.6 ได้เท่าไหร่ ? |
ตอบ : |
กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีในส่วนของน้ำหมักชีวภาพ และสารบำบัด |
|
น้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นทุกปี โดยสถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยาได้รับงบประมาณในการส่งเสริมปีละ |
|
10,000 ราย เป็นจำนวน 10,000 ลิตร ด้านสารเร่ง พด.2 และสารแร่ง พด.6 สามารถขอรับได้ตามความต้องการใน |
|
จะนำไปผลิต โดยคิดจาก 1 ซอง สามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพได้จำนวน 50 ลิตร |
|
|
|
|
คำถาม : |
ทำไมวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ปอเทือง และปูนมาร์ล ถึงแจกจ่ายหมดเร็วมาก ? |
ตอบ : |
โดยปกติการแจกจ่ายวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน พืชปุ๋ยสด(ปอเทือง) และปูนมาร์ล จะทำการแจกจ่ายปีละครั้ง ซึ่งในการ |
|
แจกจ่ายจะนำรายชื่อที่แสดงควมต้องการขอรับของแต่ละปีรวบรวมเพื่อดำเนินการขอรับงบประมาณจากทางกรม |
|
พัฒนาที่ดินในปีถัดไป ดังนั้นการแจกจ่ายของแต่ละปีจึงแจกจ่ายตามความต้องการที่แจ้งความประสงค์ไว้แล้วเท่านั้น |
|
หากท่านมีความประสงค์ขอรับวัสดุปรับปรุงบำรุงดินแล้ว สามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ไว้ที่สถานีพัฒนาที่ดิน |
|
พระนครศรีอยุธยาได้ ทางสถานีฯ จะดำเนินการรวบรวมรายชื่อเพื่อของบประมาณและแจกจ่ายในปีถัดไป โดยจะมี |
|
การแจกจ่ายระหว่างต้นปีงบประมาณ ช่วงไตรมาสที่ 1 (ต.ค.-ธ.ค.) ของทุกปี และแจ้งความประสงค์ได้ตลอดทั้งปี |
|
|
|
|
คำถาม : |
ทำไมการส่งผลวิเคราะห์ถินถึงใช้เวลานานมาก ? |
ตอบ : |
การวิเคราะห์ดินจะมีระยะการตรวจวิเคราะห์อยู่ประมาณ 45 วัน จากวันที่ส่งตัวอย่างดินให้ทางสถานีพัฒนาที่ดินแล้ว |
|
เนื่องจากสถานีพัฒนาที่ดินต้องดำเนินการส่งต่อไปที่ฝ่ายวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ปทุมธานี่ |
|
จะทำการวิเคราะห์ตามลำดับการส่งตัวอย่าง โดยจะมีจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบ 13 จังหวัด ประกอบด้วย |
|
พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, ปทุมธานี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ขัยนาท, สุพรรณบุรี, สมุทรปราการ, นนทบุรี |
|
นครนายก, นครปฐม, กรุงเทพมหานคร ดังนั้นจึงมีตัวอย่างในการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากได้รับผลการ |
|
วิเคราะห์เรียบร้อยทางสถานีฯ จะแจ้งให้ท่านทราบตามเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ให้ไว้ในการส่งตัวอย่างดิน |
|
|
|
|
คำถาม : |
สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา ให้บริการประชาชนทั่วไปอะไรบ้าง ? |
ตอบ : |
1. ให้บริการคำปรึกษางานด้านพัฒนาที่ดิน การแก้ไขและปรับปรุงบำรุงดิน |
|
2. จัดทำระบบส่งน้ำ ดาดคอนกรีต |
|
3. ให้บริการ แจกจ่ายวัสดุการเกษตร ปอเทือง ปูนมาร์ล น้ำหมักชีวภาพจากสารแร่ง พด.2 สารบำบัดน้ำเสียและ |
|
ขจัดกลินเหม็น จากสารเร่ง พด.6 สารไล่แมลงจากสารเร่ง พด.7 หญ้าแฝก |
|
4. บริการแจกจ่ายสารแร่ง พด.1 พด.2 พด.3 พด.6 และ พด.7 |
|
5. บริการวิเคราะห์ดินและน้ำ |
|
|
|
|