กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ( Field day)
เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ปี 2560 / 61 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

   พฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี(หมู่ที่ 5 ตำบลจรเข้สามพัน)พลเอก ฉัตรชัยสาริกัลยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ( Field day ) เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมจากเกษตรกรต้นแบบแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมในฤดูกาลผลิตปี 2560 / 61 นี้โดยมีนายเสฐียรพงศ์มากศิริรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับฯ
   นายสมชายชาญณรงค์กุลอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวรายงานว่า.การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี Field day เพื่อถ่ายทอดความรู้แบบเห็นของจริงโดยเกษตรกรจะสามารถเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยี และภูมิปัญญา ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้บริการทางด้านการเกษตร ตามบทบาทภารกิจโดยผ่านกลไก ศพก. เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิตและบริการทางการเกษตรในฤดูกาลผลิตใหม่โดยในส่วนของกิจกรรมหลัก ได้จัดตั้งสถานีเรียนรู้ต่างๆโดยมีการบูรณาการองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆซึ่งเป็นเนื้อหาและเทคโนโลยีที่จำเป็นในกระบวนการผลิตของสินค้า.ที่เลือกดำเนินการและสอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดงาน รวมทั้งได้เสนอให้นายปัญญา ใคร่ครวญ ประธาน ศพก.อ.อู่ทอง กล่าวสรุปบทบาทของ ศพก.ที่มีต่อการเริ่มต้นการผลิตใหม่ นายสืบพงษ์ ออเพชร ประธานเกษตรกรแปลงใหญ่ กล่าวสรุป การขยายเครือข่ายเกษตรแปลงใหญ่(ข้าว) ในพื้นที่อำเภออู่ทอง ต่อประธานในพิธี.และผู้ร่วมงาน
   พลเอก ฉัตรชัยสาริกัลยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และกล่าวเพิ่มเติม ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2560 / 61 โดยทุกหน่วยงานต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการทั้งในการสนับสนุนเกษตรกรให้มีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตเข้าถึงปัจจัยการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรโดยกำหนดไว้ 4 แนวทางได้แก่
   

1. เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (field day) เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ใน 882 ศพก. ทั่วประเทศ รวมทั้งการให้ความรู้และบริการทางการเกษตร การเตรียมปัจจัยการผลิต (ดิน ปุ๋ย น้ำ พันธุ์พืช/สัตว์ ฯลฯ), การให้ความรู้เกษตรผสมผสาน/เกษตรทฤษฎีใหม่/เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตและขยายสารชีวภัณฑ์, การอบรม/รับรองมาตรฐาน GAP/Organic/มาตรฐานอื่น ๆ เช่น RSPO ฯลฯ การบริหารการตลาด แหล่งรับซื้อ/ราคา, การจัดระบบ Logistic, การให้ความรู้เรื่องบัญชีต้นทุนอาชีพ เงินทุน การคำนวณต้นทุน และการใช้ประโยชน์จากแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning byAgri-Map)เป็นต้น
2. การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสนับสนุนพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์/แหล่งเงินทุน/การตรวจวิเคราะห์ดิน/น้ำ /เครื่องจักรกล/การควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
3. การบริหารจัดการความเสี่ยง  การเฝ้าระวังผ่านศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 1,764 ชุมชน , ผลิตเชื้อราและสารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมให้ความรู้เกษตรกรผลิตและการนำไปใช้  และ
4. การสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ให้เกษตรกรมีแผนการผลิตรายกลุ่ม และ รายแปลง, พัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer และ Young Smart Farmer, สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม และ ส่งเสริมให้เกิดการผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่


   นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องของหลักการคิดของการจัด Field Day : “เพื่อถ่ายทอดความรู้แบบเห็นของจริง” โดยเกษตรกรจะสามารถเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้บริการด้านการเกษตรตามบทบาทภารกิจ โดยผ่านกลไก ศพก. เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิตและบริการทางการเกษตรในฤดูกาลผลิตใหม่ โดยในส่วนของกิจกรรมหลัก สถานีเรียนรู้ต่างๆ โดยมีการบูรณาการองค์ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาและเทคโนโลยีที่จำเป็นในกระบวนการผลิตของสินค้าที่เลือกดำเนินการ และสอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดงาน Field Day ทั้งนี้ในแต่ละสถานี.อาจมีหลายหน่วยงานร่วมกันถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร การให้บริการด้านการเกษตรของหน่วยงานต่าง ๆ และนิทรรศการประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น นิทรรศการของหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ฯลฯ การแสดงและจำหน่ายสินค้าของกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน
   สำหรับการจัดงานจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (field day) เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ของเกษตรกรต้นแบบ นายปัญญา ใคร่ครวญ ในวันนี้ กิจกรรมสำคัญที่จะเกิดขึ้น กิจกรรมหลัก : สถานีเรียนรู้ต่างๆ โดยบูรณาการองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
1.สถานีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวปลอดภัย/อินทรีย์ แสดงการลดต้นทุนการผลิต (ลดค่าพันธุ์ข้าว/ลดค่าปุ๋ยเคมี/ลดค่าสารเคมี) , มาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ , การจำหน่ายสินค้าผ่านระบบ online
2.สถานีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปลูกอ้อย นวัตกรรมด้านเครื่องจักรกลสำหรับการปลูกอ้อย แสดงเครื่องไถพรวน สไตรพ์ ทิลเลจ (Stripe Tillage), เครื่องผ่าตออ้อย, เครื่องย่อยสลายใบอ้อยและแสดงพันธุ์อ้อย (อู่ทอง 12 , อู่ทอง 14 ,อู่ทอง 15)
3.สถานีเกษตรทฤษฎีใหม่ “5 ประสาน สืบสานทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” ถ่ายทอดประสบการณ์จากเกษตรกรต้นแบบที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประสบผลสำเร็จ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเลี่ยงการปลูกพืชเชิงเดียว มาทำเกษตรทฤษฎีใหม่
   4.สถานีแนวคิดเกษตรกรรุ่นใหม่ในการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตร แสดงการปลูกมะนาวลงดินนอกฤดู, การปลูกเมล่อนในโรงเรือน(ฟาร์มอัจฉริยะ), การปลูกมะเขือเทศเชอรี่ในโรงเรือน
นอกจากนี้ ยังมีฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนฝอยเพื่อกำจัดแมลง การผลิตน้ำหมักชีวภาพ สูตร พด.2 พด.6 สารสกัดสมุนไพรฯ สูตร พด.7 การผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตปุ๋ยหมักทั่วไป และปุ๋ยหมักสูตรพระราชทานฯ การเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบในกระชัง การปลูกข้าว พืชผัก และผลไม้อินทรีย์
   ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร /วิสาหกิจชุมชน ได้มาออกร้านจำหน่ายสินค้า ร่วมจัดนิทรรศการ ให้บริการด้านการเกษตรเช่น ให้บริการวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่ บริการน้ำหมักชีวภาพพร้อมใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ (พด.1 ถึง พด.12) พร้อมคำแนะนำในการผลิตและการใช้ประโยชน์ กล้าหญ้าแฝก พันธุ์พืชผักสวนครัว ไม้ผล ฯลฯ และได้รับความอนุเคราะห์ หน่วยปฐมพยาบาล(เคลื่อนที่) จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจรเข้สามพัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภออู่ทอง เพื่อมาดูแล /ตรวจสุขภาพ /เตรียมพร้อมปฐมพยาบาล แก่ผู้มาร่วมงาน
   มีพลเอก ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏและนางจินตนา ชัยยวรรณการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ นายนำชัยพรหมมีชัยรองปลัดกระทรวงฯ พันเอกพักรบคัฒทะจันทร์ และ พันเอกหญิงกัลยาสูงสว่างผู้ติดตามรัฐมนตรีว่าการฯ นางศศิธรกาหลงสำนักงานรัฐมนตรีนายเสนอชูจันทร์ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯเขต 4นายอนันต์ ลิลา ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร นายสุรเดชเตียวตระกูลอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินนางบริสุทธิ์เปรมประพันธ์อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์นายอนันต์สุวรรณรัตน์อธิบดีกรมการข้าว นายสัตว์แพทย์อภัยสุทธิสังข์อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายทองเปลว ทองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายอุทัยนพคุณวงศ์รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายเชิดชัยพรหมแก้วรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนของอธิบดี.ทุกกรม, พันเอกกุญชภัสร์ หาญสมบูรณ์ กกล.รส.มณฑลทหารบกที่ 17 จทบ.กาญจนบุรี หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ฯผอ.สำนักงาน.เขต ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้นำชุมชน(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี. สมาชิก) คณะกรรมกร ศพก. เกษตรกรต้นแบบ/ปราชญ์เกษตรกรอาสาสมัครเกษตร.(อกม.) หมอดินอาสา เกษตรกร ผู้สื่อข่าว และ ผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน 650 กว่าคน

ดาวน์โหลดเอกสาร
    • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงาน Field day ปี ๒๕๖๐/๖๑ ที่สุพรรณบุรี (ปชส.จ.สุพรรณบุรี)
    • เกษตรฯจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิต.ใหม่ ปี2560/61 (นสพ.ฐานเศรษฐกิจ)
    • แผนที่เกษตร(Zoning by AgriMap)อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    • เอกสารประกอบการออกหน่วยบริการ "งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี(Field Day)"ปี๒๕๖๐/๖๑
    • พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานกล่าวเปิดงาน Field Day ที่สุพรรณ
    • พัฒนาที่ดินนำเสนอ Zoning by Agrimap ที่ ศพก.อำเภออู่ทอง
    • คุณปัญญา ใคร่ครวญ ประธาน ศพก. สรุปบทบาท ศพก.อู่ทอง