วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2556 สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี ร่วมกับ โรงเรียนวัดไผ่มุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑ ได้ร่วมจัดเตรียมงาน การอบรม ศึกษา และดูงาน โครงการ “พลิกโฉมโรงเรียนใน ๑ ปี ด้วยแนวคิดที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง(BBL)” ของคณะผู้บริหารการศึกษาของ ๘ จังหวัดในภาคกลาง
โดย โรงเรียนวัดไผ่มุ้ง ได้เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนและยุวหมอดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2557 สถานีพัฒนาที่ดิน จึงร่วมกับโรงเรียนฯ จัดทำศูนย์เรียนรู้ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่ ต้นกล้าแห่งการพัฒนาการเกษตร ทั้งเยาวชน(ยุวหมอดิน) คณะครู และผู้ปกครอง ที่สามารถนำ นวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยีชีวภาพ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และทรัพยากรที่มี เพื่อการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้างในผลผลิต หรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แนวคิดดังกล่าวสามารถนำไปขยายผล เพื่อการผลิตเชิงพานิช และสู่ผู้บริโภคในระดับภูมิภาค หรือระดับสากล ที่ทุกคนหันมาคำนึงในความปลอดภัยด้านอาหาร และใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น
ซึ่งโรงเรียนวัดไผ่มุ้ง นำโดย ผอ.นางศณิศา บุษบงค์ ได้ร่วมบูรณาการกับชุมชน ชาวตำบลวังน้ำเย็น ทั้ง กำนันเบญจมาศ ข้าวเข็มทอง, หมอดินตำบลวังน้ำเย็น นายชูชาติ เพ็งอ้น, อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายจำลอง อุบาลี, ผู้ใหญ่หมู่ที่ ๔ นายวีระ หลีพันธุ์, ผู้ใหญ่หมู่ที่ ๕ นายจอม บุญล้ำ, ผู้ใหญ่หมู่ที่ ๖ นายอำนวย ดิษฐ์ธวัช, คณะครู ผู้นำชุมชน และชาวตำบลวังน้ำเย็น ให้ความร่วมมือ จัดทำศูนย์เรียนรู้ฯอย่างมีส่วนร่วม มีการจัดตั้ง โครงการอาหารกลางวัน ธนาคารขยะ โรงปุ๋ยอินทรีย์ โรงผลิตน้ำส้มควันไม้ ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน ฝึกการทำนา การปลูกพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ ในชุมชนอย่างแท้จริง
ในส่วนของ สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี นำโดย ผอ.วันชัย วงษา และ นายทนง ไม้เลี้ยง หัวหน้าหน่วยพัฒนาที่ดินพื้นที่ อ.บางปลาม้า เป็นแม่งาน ร่วมกับ หัวหน้าองอาจ นักฟ้อน คุณเกรียงศักดิ์ คำเลิศ ได้ร่วมดำเนินการ/ทั้ง ถ่ายทอดองค์ความรู้ การให้บริการ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ มีการจัดทำซุ้มนิทรรศการ ฐานเรียนรู้ และโมเดล ต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภายในโรงเรียน ในแนวคิด “หญ้าแฝก กำแพงมีชีวิต” คือ การป้องกันการชะล้างพังทลาย การอนุรักษ์ดินและน้ำ ด้วยหญ้าแฝก, “ชีวภาพเพื่อพอเพียง” คือ การประยุกต์สารเร่ง พด.ต่างๆ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อผลิตสารชีวภัณฑ์ ทดแทนหรือลดการใช้สารเคมี, “หลุมพอเพียง” คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว ให้ทุกอย่างเกื้อกูลกัน เป็นการบริหารเวลาและใช้ประโยชน์ที่ดินเกิน 100 เปอร์เซ็นต์, “โรงปุ๋ยพอเพียง” คือ การเลี้ยงหมูหลุมประยุกต์ ที่มีวัตถุประสงค์ 4 อย่าง ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและสภาพภูมิอากาศ ของเมืองไทย ฯลฯ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมการโครงการกองทุนการศึกษา พร้อมด้วยของคณะผู้บริหารการศึกษาของ ๘ จังหวัดในภาคกลาง เข้าตรวจเยี่ยม อบรม ศึกษา และดูงาน นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑ และ นางศณิศา บุษบงค์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดไผ่มุ้ง นายวันชัย วงษา และ คณะทำงานฯ ให้การต้อนรับ อธิบาย และตอบข้อซักถาม เกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรม และองค์ประกอบต่างๆ ในศูนย์เรียนรู้ฯดังกล่าว มีห้องสมุดเคลื่อนที่ จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสุพรรณบุรี มาให้บริการแก่ชุมชน และคณะฯ เข้าเยี่ยมชม กระทั่งการตรวจเยี่ยมดูงาน ครบถ้วนสมบูรณ์ คณะผู้บริหารการศึกษาฯ จึง อำลาคณะครู และผู้ปกครอง เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติม
1)ประวัติโรงเรียนวัดไผ่มุ้ง
2)องค์ความรู้ และแพ็คเกจพอเพียง
|