::: พด.14 มาหรือยัง :::   

 :: พด.14 มาหรือยัง
ข้อความ
   เห็นทางกรมพัฒนาที่ดินออกสารเร่ง พด.14 มาใหม่ ที่ช่วยในเรื่องโรครากเน่าโคนเน่า โดยสามารถนำไปละลายน้ำแล้วฉีดได้เลย ไม่ทราบว่ามีแจกจ่ายหรือยังครับ
 
     โดยคุณ : สมาน     [วันที่   13/1/2565  เวลา 10:09 น.   ]    E-Mail :

 ::ความคิดเห็นที่ 1

   สวัสดีครับ สำหรับ พด.14 ที่ช่วยป้องกันโรคของพืช อาทิ รากเน่า โคนเน่า ใบจุด โรคเหี่ยว ฯลฯ ตอนนี้เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เนื่องในงานวันเกิดกรม 59 ปี และกำลังจะเริ่มทำการผลิตเพื่อออกมาให้บริการเกษตรกรต่อไปครับ ข้อดีของ สารเร่ง พด.14 มีรูปแบบการใช้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ขยายเชื้อได้กับข้าวที่หุง(อาจจะใช้ข้าวเปลือก ข้าวฟ่างได้) โดย 1 ซอง สามารถขยายกับข้าวได้ 10 ถุงๆละ 250 กรัม สามารถนำไปใช้ได้กับพื้นที่ 20 ไร่ ส่วนแบบที่ 2 ฉีกซองละลายน้ำ 250 ลิตร ฉีดพ่นได้เลย ในพื้นที่ 5 ไร่ครับต่อซองที่น้ำหนักซอง 25 กรัม สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 035454081
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   26/5/2565  เวลา 13:59 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 2

   ถ้า พด.14 ออกมาผมว่า น่าจะตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรได้อย่างดีเลยครับ แต่ก็กลัวว่าสารเร่ง พด.3 ซึ่งป้องกันโรคเชื้อราในดินเหมือนกัน น่าจะถูกลืมแน่เลย เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า
 
     โดยคุณ : สมหมาย      [วันที่   23/6/2565  เวลา 10:03 น.]    E-Mail :


 ::ความคิดเห็นที่ 3

   ใช่ครับ จริงๆถ้ามองถึงความสะดวกสบายของเกษตรกรที่จะนำไปใช้ถือว่าตอบโจทย ์เกษตรกรครับ เพราะไม่ต้องเตรียมวัสดุอะไรเลย เพียงแค่ฉีกซองละลายน้ำก็ฉีดพ่นได้เลย แต่จำนวนพื้นที่การนำไปใช้ต่อ 1 ซองจะได้น้อยแค่ 5 ไร่ต่อ 1 ซอง แต่ถ้าเกษตรกรทำการขยายเชื้อกับข้างหุงหรือข้าวฟ่าง สามารถนำไปใช้ต่อพื้นที่ได้ถึง 15-20ไร่เลยทีเดียว สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 035454081
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   27/6/2565  เวลา 09:06 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 4

   ตอนนี้สารเร่ง พด.14 สามารถไปขอได้ที่ไหนครับ มีแจกจ่ายหรือยัง
 
     โดยคุณ : สมปอง     [วันที่   4/7/2565  เวลา 13:02 น.]    E-Mail :


 ::ความคิดเห็นที่ 5

   สวัสดีครับ ตอนนี้ทางกรมกำลังเตรียมผลิตเพื่อให้บริการเกษตรกรครับ เดี๋ยวถ้าพร้อมให้บริการเกษตรกรจะแจ้งให้ทราบต่อไปครับ หรือสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 035454081 ขอบคุณครับ
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   26/7/2565  เวลา 16:09 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 6

   การผลิดสารทุก พ.ด น่าจะมาในรูปแบบการละลายน้ำแล้วใช้ได้เลย เพื่อความสะดวกของเกษตรกร รนเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน การใช้เวลาหมักจะทำให้เสียเวลามาก การหาวัตถุดิบเพื่อจะมาทำการหมัก เป็นต้น (ยกเว้นการขยายเชื้อ ที่อาจจะต้องใช้วิธีการหมักร่วมด้วย)
 
     โดยคุณ : การใช้สาร พ ด     [วันที่   8/1/2566  เวลา 00:53 น.]    E-Mail : jumaji2550@hotmail.com 


 ::ความคิดเห็นที่ 7

   <ความคิดเห็นที่ 6> ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะครับ ด้วยข้อจำกัดต่างๆของทั้งตัวเกษตรกร ระยะเวลา วัสดุต่างๆ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีรูปแบบที่เสนอมาได้ครับ
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   9/1/2566  เวลา 09:34 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 8

   สวัสดีครับ สารเร่ง พด.14 ของกรมพัฒนาที่ดิน ตัวเชื้อเป็นตัวเดียวกันกับที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือเปล่าครับ แล้วถ้าได้ 1 ซอง จะสามารถฉีดพ่นได้กี่ไร่ครับ ขอบคุณครับ
 
     โดยคุณ : จตุพร     [วันที่   9/2/2566  เวลา 09:50 น.]    E-Mail :


 ::ความคิดเห็นที่ 9

   (ตอบความคิดเห็นที่ 8)
สวัสดีครับ จริงๆแล้วเชื้อไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ที่ควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชที่นำมาใช้มีหลากหลาย ได้แก่ Trichoderma Hazianum(ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนัม), Trichoderma viride(ไตรโคเดอร์ม่า วิริดี้), Trichoderma virens(ไตรโคเดอร์ม่า ไวเรน)และ Trichoderma polysporum(ไตรโคเดอร์ม่า โพลิ สปอร์รั่ม)
ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน ได้คัดเลือกและส่งเสริมมาใช้นั้นจะเป็นจุลินทรีย์สารเร่ง พด.3 ซึ่งจะเป็นไตรโคเดอร์ม่า สายพันธุ์ วิริดี้ (Tricoderma Viridae)ร่วมกับ
Bacillus Subtilis (บาซิลลัส ซับทิลิส) ซึ่งคำแนะนำในการใช้จะให้ใส่ลงไปในดิน โดยจะควบคุมคุมโรคทางดินเป็นหลัก และจะต้องทำการขยายเชื้อด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับรำละเอียดหมักไว้ 7 วันก่อนแล้วจึงค่อยนำไปใช้ได้ โดยนำไปรองก้นหลุม หรือหว่านรอบโคนต้นและเตรียมแปลงสำหรับปลูกพืช เป็นต้น ซึ่งจะดีสำหรับป้องกันโรคทางดินครับ แต่ถ้าเกษตรกรปลูกพืชไปแล้วพืชแสดงอาการเป็นโรคไม่ว่าจะทางราก โคนต้น กิ่ง ก้าน ใบหรือผลผลิต ซึ่งยังไม่มีสารชีวภัณฑ์ตัวไหนป้องกันหรือกำจัดได้
ทางกรมพัฒนาที่ดินเลยทำการคัดเลือกสายพันธุ์ไตรโคเดอร์ม่า ตัวใหม่ออกมา นั่นก็คือสารเร่ง พด.14 ที่มีไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ฮาเซียนั่ม เพื่อนำมาให้เกษตรกรได้นำไปใช้ฉีดพ่นทั้งทางดิน
และทางใบได้ครับ
สนใจในตัวผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.14 หรือสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่เบอร์ 035454081 ขอบคุณครับ


 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   15/2/2566  เวลา 16:06 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 10

   ตอบความคิดเห็น(::ความคิดเห็นที่ 8)
สวัสดีครับ สำหรับไตรโคเดอร์มาที่กรมพัฒนาที่ดินนำมาใช้ควบคุมการเกิดโรคพืช ในสารเร่ง พด.14 จะเป็นTrichoderma Hazianum(ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนัม) ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้งานทั้งในและต่างประเทศมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เช่น Trichoderma Hazianum , Trichoderma viride, Trichoderma virens และ Trichoderma polysporum แต่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ ฮาเซียนั่ม เป็นสายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะทนต่อสภาวะแวดล้อมในบ้านเราได้ดีและเจริญเติบโตดี
ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium sp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอด
เน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora sp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วงในลำไย
ลิ้นจี่ โรคดอกร่วงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไทย แตงโม แตงกวา แตงร้าน
มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium sp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยว
ในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้
ทุเรียนเป็นโรคใบติด
5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum sp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น
ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง
6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria sp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น
ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium sp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ
ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ

+++ สำหรับอัตราการใช้ของสารเร่ง พด.14 จะอยู่ที่ 1 ซอง(น้ำหนัก 80 กรัม) ผสมน้ำ 50 ลิตร ฉีดพ่นได้ 1 ไร่
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   8/3/2566  เวลา 11:24 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 11

   สวัสดีครับ ผมอยากรู้ว่า ทำไมสารเร่ง พด.14 ถึงผลิตออกมาให้บริการเกษตรกรน้อยจังครับ ผมไปขอรับบริการจากสถานีมาแล้ว ได้แก่ 2 ซอง เจ้าหน้าที่บอกว่า ได้รับมาจากส่วนกลางน้อยเช่นกัน เลยต้องแบ่งๆกัน ทำไมไม่ผลิตออกมาให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรหละครับ (ยอมรับว่า ใช้แล้วเห็นผลชัดเจน มันสะดวก และตอบโจทย์เกษตรกรมากๆครับ
 
     โดยคุณ : สมาน     [วันที่   5/4/2566  เวลา 20:03 น.]    E-Mail :


 ::ความคิดเห็นที่ 12

   ::ความคิดเห็นที่ 11 (คุณสมาน)
สวัสดีครับ ขอตอบความคิดเห็นของคุณสมานครับ
ต้องขอขอบคุณที่ได้บอกถึงประโยชน์และผลลัพธ์การนำสารเร่ง พด.14 มาบอกให้เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจได้รับทราบ
ในส่วนของสารเร่ง พด.14 ที่ได้รับกันจำนวนไม่เยอะ ทางเราได้แจ้งไปยังหน่วยงาน/กองที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของเกษตรกรแล้วครับ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 035454081 ขอบคุณครับ
 
     โดยคุณ : สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี     [วันที่   18/4/2566  เวลา 15:26 น.]    E-Mail : spb01@ldd.go.th 


 ::ความคิดเห็นที่ 13

   พด14 กับเห็ดฟาง ใช้กันได้ไม่ครับ ราคนละจัวใช่ไม่ครับ พด14จะกินราเห็ดฟางไม่ครับ
 
     โดยคุณ : ฟาร์มเห็ด     [วันที่   12/11/2567  เวลา 18:36 น.]    E-Mail : suriya007010@gmail.com