::: สารเร่ง พด.2กับ EM :::
::
สารเร่ง พด.2กับ EM
ข้อความ
สวัสดีค่ะ อยากจะทราบว่าระหว่างสารเร่ง พด.2กับ EM ถ้าเราจะนำมาใช้ในการย่อยสลายเศษวัสดุ เพื่อผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ สามารถใช้แทนกันได้ไหมค่ะ แล้วอันไหนประสิทธิภาพดีกว่ากันค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ :
สุภาวดี
[วันที่ 25/3/2560 เวลา 11:35 น. ]
E-Mail :
ploylamai@gmail.com
::ความคิดเห็นที่
1
เรียนคุณสุภาวดีครับ
ขออนุญาตุตอบคำถามครับ
สารเร่ง พด.2
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ดังนี้
- ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์
- แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก
- แบคมีเรียย่อยสลายโปรตีน
- แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน
- แบคทีเรียละลายอนินทรียฟอสฟอรัส
จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.2
1) สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากวัตถุดิบได้หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หอยเชอรี่ เปลือกไข่ เศษก้างและกระดูกสัตว์
2) เพิ่มประสิทธิภาพการละลายธาตุอาหารในการหมักวัตถุดิบจากเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์
3) เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ในสภาพความเป็นกรด
4) จุลินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและเก็บรักษาได้นาน
5) สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ
6) ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรค / แมลง
สำหรับ EM หมายถึง
EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า "กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ"
EM ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ตามแนวทางของท่านโมกิจิ โอกาดะ ระหว่าง พ.ศ. 2510-2525 ได้พบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เป็นดังนี้
ทั้งจุลินทรีย์ต้องการอากาศ (Aerobic microorganisms) และจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic microorganisms) นั้นทำงานร่วมกันในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันบ้าง และขัดแย้งกันบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์ดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีประมาณ 5-10 %
2. กลุ่มจุลินทรีย์ก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีประมาณ 5-10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีมากถึง 80-90 %
ลักษณะการทำงาน
1. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มดีหรือกลุ่มสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มก่อโรค โลกจะอยู่ในสภาวะสร้างสรรค์ สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากมลพิษและโรคภัยทั้งปวง
2. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหรือกลุ่มทำลายมากกว่ากลุ่มดี สภาวะโลกจะตรงข้าม คือเกิดมลภาวะเน่าเหม็น มีโรคระบาด เป็นสภาวะทำลาย
3. ส่วนกลุ่มเป็นกลางจะคอยช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้สามารถแสดงปฏิกิริยาได้มากยิ่งขึ้น
http://www.emkyusei.com/na_02.htm
EM เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด
หากเรานำมาใช้ก็สามารถใช้ทดแทนกันได้ครับ ส่วนที่ถามว่าอันไหนจะมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน ก็คงต้องลองเอาไปใช้ดูแล้วเปรียบเทียบดูเองครับ เพราะปกติแล้วในธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์อยู่แล้ว อาทิ จุลินทรีย์จากจอมปลวก จุลินทรีย์ที่ได้มาจากใต้ต้นไผ่ หรือจากโคนรากแฝก เป็นต้นครับ
ขอบคุณครับ
โดยคุณ :
หมอดินสุพรรณ
[วันที่ 28/3/2560 เวลา 10:58 น.]
E-Mail :
spb01@ldd.go.th
::ความคิดเห็นที่
2
ขอบพระคุณมากค่ะ
โดยคุณ :
สุภาวดี
[วันที่ 28/3/2560 เวลา 16:43 น.]
E-Mail :
ploylamai@gmail.com
::ความคิดเห็นที่
3
ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจาก พด.2แล้วเกิดหนอน ไม่ทราบว่าจะเสียไหมค่ะ แต่ดมกลิ่นแล้วก็ไม่เหม็นนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ :
อัจฉรา
[วันที่ 21/4/2560 เวลา 14:09 น.]
E-Mail :
-
::ความคิดเห็นที่
4
สวัสดีครับคุณอัจฉรา
สำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพด้วยสารเร่ง พด.2 แล้วช่วงกระบวนการหมักเกิดหนอนในถังหมัก แล้วกลัวว่าน้ำหมักจะเน่าหรือเสียนั้น จริงๆแล้วน้ำหมักไม่ได้เสียหรือเน่าครับ การเกิดหนอนขึ้นในถังหมักเกิดจากการที่แมลงมาวางไข่รอบขอบถัง เนื่องจากมันได้กลิ่นกากน้ำตาลและผลไม้ต่างที่เรานำมาหมัก พอไข่ฟักกลายเป็นหนอนมันก้อเลยตกลงในถัง พอเรามาเปิดจึงได้เห็นตัวหนอน
วิธีการแก้ไข เราไม่ต้องทำอะไรครับ เดี๋ยวสักพักหนอนที่อยู่ในถังหมักก็จะตายกลายเป็นปุ่ยต่อไปครับ มันจะไม่สามารถฟักกลายเป็นตัวผีเสื้อได้ครับ
การทำน้ำหมักจากสูตรสารเร่ง พด.ต่างๆถ้าเราทำและปฎิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี น้ำหมักที่ีได้จะไม่เกิดอาการเน่าเสียอย่างแน่นอนครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ :
พัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
[วันที่ 3/5/2560 เวลา 09:04 น.]
E-Mail :
spb01@ldd.go.th
::ความคิดเห็นที่
5
ผมได้ทำน้ำหมักชีวภาพ(ฮอร์โมนพืช)สูตร พด.2 พอผมหมักได้ตามระยะเวลาแล้ว ผมกรองเอาน้ำหมัก(แยกกากแยกน้ำ)ไปใส่แกลลอนทึบแสงปิดฝาสนิทไว้ ตอนนี้ได้ปีกว่าครับ กลิ่นหอมมากครับ ไม่มีกลิ่นเน่าเลยครับทำแบบนี้ก็ช่วยทำให้น้ำหมักเราไม่มีกลิ่นเหม็นได้ครับ เพราะผมคิดว่าถ้าเราทิ้งไว้นานๆแล้วใช้ไม่หมด การหมักของจุลินทรีย์ก็ดำเนินกิจกรรมของเขาไปเรื่อย พออาหารหมดมันก็เลยเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เลยขอแชร์ข้อมูลด้วยครับ
โดยคุณ :
ไตรโคเดอร์มา
[วันที่ 15/12/2560 เวลา 10:42 น.]
E-Mail :
-
::ความคิดเห็นที่
6
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามเรื่องสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 กับสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไม่ทราบว่าใช้ทดแทนกันได้ไหมค่ะ คืออ่านรายละเอียดเกี่ยวกับจุลินทรีย์แล้วมันเหมือนกันเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ :
Note
[วันที่ 12/3/2561 เวลา 13:41 น.]
E-Mail :
-
::ความคิดเห็นที่
7
ขอบคุณสำหรับ(ความคิดเห็นที่ 5 โดยคุณไตรโคเดอร์มา)ด้วยครับ ที่ได้แชร์ข้อมูลให้กับเพื่อนๆได้ทราบกันครับ
โดยคุณ :
พัฒนาที่ดินสุพรรณ
[วันที่ 12/3/2561 เวลา 13:45 น.]
E-Mail :
spb01@ldd.go.th
::ความคิดเห็นที่
8
ขอแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆชาวเกษตรกรนำไปลองทำดูนะครับ ได้ผล 100%
ที่บ้านผมปลูกกล้วยน้ำว้าไว้กินเอง(เหลือก็ขาย)ประมาณ 10 ต้น ตอนนี้กล้วยที่ผมปลูกอายุก็ปาเข้าปีที่ 2 แล้ว หน่อยกล้วยเยอะมากครับ ทำให้กล้วยขึ้นแน่นมาก ผมก็เลยตัดต้นออก ประมาณ 10 วัน ต้นที่ผมตัดก็ขึ้นแตกใบสวยเลย แน่นเหมือนเดิม ไม่รู้จะทำยังไงดี ที่จะไม่ให้ต้นกล้วยที่เราตัดไม่ขึ้นอีก
ผมเลยลองเอาน้ำหมัก ที่หมักไว้มาเทตรงที่ผมตัดออก (ผมสับให้ต้นมีรูกว้างๆหน่อย) จากนั้นก็เทน้ำหมักลงไป ประมาณ 200 ซีซี เชื่อไหมครับมันได้ผล ประมาณ 1 อาทิตย์ ต้นกล้วยที่ตัดแล้วเทด้วยน้ำหมักใส่ลงไป มันไม่แตกใบอีกเลย คือมันตายไปเลยครับ
เลยนำข้อมูลมาให้เพื่อนที่มีปัญหาเดียวกันกับผม ได้ลองนำไปใช้ดุครับ ขอบคุณครับ
โดยคุณ :
ย.ยักษ์
[วันที่ 17/7/2566 เวลา 13:47 น.]
E-Mail :
-