กลุ่มชุดดินนี้ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกอ้อย เนื่องจากมีกรวดลูกรังหรือเศษหินปนมากในดินล่าง

 ปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่เพิ่มให้เพียงพอ

     

   อ้อยปลูก

   

  อ้ยตอ

 
  ไนโตรเจน (N)
18
  กิโลกรัมต่อไร่  
18
  กิโลกรัมต่อไร่  
  ฟอสฟอรัส (P2O5)
9
  กิโลกรัมต่อไร่  
9
  กิโลกรัมต่อไร่  
  โพแทสเซียม (K2O)
12
  กิโลกรัมต่อไร่  
18
  กิโลกรัมต่อไร่  
 ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย

เขตอาศัยน้ำฝน แบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก

 
  • ใส่ปุ๋ยรองพื้น 0-3-0 (หินฟอสเฟต) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่รองก้นร่องตอนปลูก หลังจากนั้น แบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
  • ครั้งแรก ใส่ต้นฤดูฝน โดยแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่ง ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมทั้งหมดในครั้งเดียว
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ

เขตชลประทาน แบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง

 
  • ครั้งแรก เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก โดยแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่ง ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมทั้งหมดในครั้งเดียว
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน (อ้อยมีอายุ 3 เดือนหลังงอก) โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ
 คำแนะนำการใช้ปุ๋ย
 อ้อยปลูก
 
คำแนะนำที่ 1 : ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-12 ร่วมกับ 0-0-60
 
  • ครั้งแรก ใช้ปุ๋ย 20-10-12 อัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับ 0-0-60 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน ใช้ปุ๋ย 20-10-12 อัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่
คำแนะนำที่ 2 : ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ร่วมกับ 46-0-0 และ 0-3-0
 
  • ครั้งแรก ใช้ 13-13-21 อัตรา 57 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับ 0-3-0 อัตรา 53 กิโลกรัมต่อไร่
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 23 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือใช้ 21-0-0 แทนในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่)
คำแนะนำที่ 3 : ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ร่วมกับ 0-46-0 และ 0-0-60
 
  • ครั้งแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับ 0-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
    และ 0-0-60 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
    (ถ้าใช้ 21-0-0 แทน 46-0-0 ใส่ในอัตรา 43 กิโลกรัมต่อไร่)
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือใช้ 21-0-0 แทนในอัตรา 43 กิโลกรัมต่อไร่)
 อ้อยตอ
 
คำแนะนำที่ 1 : ใช้ปุ๋ยสูตร 12-10-20 ร่วมกับ 46-0-0
 
  • ครั้งแรก ใช้ปุ๋ย 12-10-20 อัตรา 75 กิโลกรัมต่อไร่
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน
    ใช้ปุ๋ยสูตร 12-10-20 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 16 กิโลกรัมต่อไร่
    (ถ้าใช้ 21-0-0 แทน 46-0-0 ใส่ในอัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่)
คำแนะนำที่ 2 : ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ร่วมกับ 0-0-60
 
  • ครั้งแรก ใช้ปุ๋ย 16-8-8 อัตรา 57 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน
    ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 อัตรา 56 กิโลกรัมต่อไร่
คำแนะนำที่ 3 : ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ร่วมกับ 0-46-0 และ 0-0-60
 
  • ครั้งแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
    ร่วมกับ 0-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
    และ 0-0-60 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
    (ถ้าใช้ 21-0-0 แทน 46-0-0 ใส่ในอัตรา 43 กิโลกรัมต่อไร่)
         เขตอาศัยน้ำฝน ใส่ต้นฤดูฝน
         เขตชลประทาน ใส่เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนหลังงอก
  • ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือใช้ 21-0-0 แทนในอัตรา 43 กิโลกรัมต่อไร่)
 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย
   เพื่อช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย
 
  • ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
  • ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ แล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย
  • ใช้ใบและยอดอ้อยคลุมแปลง หรือไถกลบใบอ้อย