กลุ่มชุดดินที่ 55

วิธีการใช้เอกสารการจัดการดิน ให้ตรวจสอบว่า พื้นที่ของท่านอยู่ในกลุ่มชุดใด จากแผนที่กลุ่มชุดดิน (62 กลุ่มชุดดิน) หรือรายงานแผนที่ความเหมาะสมของดินกับพืชเศรษฐกิจเบื้องต้นของจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (มาตราส่วน 1:50,000) เมื่อทราบแล้วจึงเลือกใช้เอกสารการจัดการดินตามกลุ่มชุดดินที่ต้องการ

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือแดง ในดินชั้นล่างระดับความลึกต่ำ 50 ซม.ลงไปจะพบหินผุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งมีก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเกิดจากวัสดุต้นกำเนิด ดินพวกหินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีปูนปน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดเท 1 - 2 % มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ค่าความเป็นกรดประมาณ 6.0-7.5 มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ได้แก่ ชุดดินวังสะพุง ทับกวาง และจตุรัส ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง กล้วย บางแห่งเป็นป่าละเมาะ หญ้าเพ็กและไผ่

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินลึกปานกลาง มีชั้นที่มีก้อนปูนหรือเศษหินปะปนชั้นดินดานและชั้นหินพื้นอยู่ลึก 1 เมตร น้ำซึมผ่านชั้นดินได้ปานกลางถึงค่อนข้างช้า การอุ้มน้ำของดินปานกลาง มีการกัดกร่อนของดินที่ความลาดชันสูง

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 55 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แต่ค่อนข้างเหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการที่จะใช้ทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย คือสูงเกินไปและบางส่วนมีความลาดเทสูงสำหรับนาข้าว จึงเก็บกักน้ำไม่อยู่

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 55

ปลูกพืชไร่ ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และปัญหาการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกในบางช่วง ปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 54 ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างและดินขาดความชื้นในบางช่วง ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกอัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสด แล้วไถกลบลงดินเมื่อปุ๋ยพืชสดออกดอกได้ประมาณ 50% ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชไร่หลักหรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซมกับพืชหลัก จะช่วยรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินอีกด้วย ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรอัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น

ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และอ้อย การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร และอัตรา ปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 54

ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50-75 กก./ไร่ สำหรับชุดดินที่มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ ใส่โดยโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน หรือใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ หรือสูตร25-25-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง สำหรับชุดดินที่มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ใส่โดยโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบใส่หลังปลูก 20-25 วัน

ละหุ่ง ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ หรือ 25-25-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ วิธีใส่พันธุ์ต้นใหญ่โรยรอบโคนแล้วพรวนดินกลบ ส่วนพันธุ์อายุสั้นโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบใส่หลังปลูก 20-25 วัน

งา ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือ สูตร 25-25-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ใส่โดยโรยข้างแถวหลังปลูก
20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบหรือหว่านทั้งหมดถ้าปลูกแบบหว่าน

ฝ้าย ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50-60 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 70-80 กก./ไร่ แบ่งครึ่งใส่ ครั้งแรกรองก้นหลุมปลูก ครั้งที่สองโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบหลังปลูก 20-25 วัน

ปลูกไม้ผล ปัญหาดินลึกปานกลาง การเตรียมหลุมปลูก ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 75 x 75 x 75 ซม.ขึ้นไป และดินในหลุมปลูกต้องคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 20-25 กก./หลุม ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปลูกแถวพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ทำคันดินขวางความลาดเทของพื้นที่ เพื่อช่วยชลอการไหลบ่าของน้ำที่ผิวดินเมื่อฝนตกหนักและบนคันดินให้ปลูกหญ้า เช่นแฝก หรือพืชตระกูลถั่วยืนต้น เพื่อช่วยรักษาคันดิน ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินระหว่างแถวไม้ผล นอกจากช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นของดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอีกด้วย

ปัญหาดินมีธาตุอาหารพืชบางอย่างไม่เพียงพอแก่การเจริญเติบโต แก้ไขโดยการใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี สูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผล เช่น

มะม่วง เตรียมหลุมปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 อัตรา 500 กรัม/ต้น คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูก ก่อนตกผล (0-4 ปี) ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 400-500 กรัม/ต้น x อายุปี หรือสูตร 15-30-15 อัตรา 300-400 กรัม/ต้น x อายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 200-250 กรัม/ต้น x อายุปี หรือ 46-0-0 อัตรา 100-125 กรัม/ต้น x อายุปี แบ่งใส่ปุ๋ยผสม 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน โดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 30 ซม. แล้วพรวนดินกลบ หรือใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-10 อัตรา 500-600 กรัม/ต้น x อายุปี แบ่งใส่ 4 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กัน ช่วงระยะเวลาที่ใส่คือเดือนมีนาคม พฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคม ตกผลแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20 หรือ15-5-20 อัตรา 500-600 กรัม/ต้น x อายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 500-600 กรัม/ต้น x อายุปี แบ่งใส่ปุ๋ยผสม 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว และปุ๋ยเดี่ยวใส่ครั้งที่ 3 หลังติดผลแล้ว หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-5-20 อัตรา 800-900 กรัม/ต้น x อายุปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กัน

มะขามหวาน อายุ 1-2 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 30-50 กก./ต้น/ปี หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ๆ ละ 100, 150 และ 200 กรัมตามลำดับ อายุ 3-5 ปี หรือติดผลแล้วควรใส่ปุ๋ยผสมที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 12-12-17, 13-13-21 หรือ 14-14-14 อัตราที่ใส่ปีละครึ่งหนึ่งของอายุต้นมะขาม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน หว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 30 ซม. แล้วพรวนดินกลบ อายุเกิน 6 ปีขึ้นไป หรือมะขามติดผลเต็มที่แล้วให้ใส่ปุ๋ยดังนี้

1) ระยะพักตัว ให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 11-45-11 หรือ 10-52-17 ให้ทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้มะขามออกดอก อายุเกิน 6 ปีขึ้นไป หรือมะขามติดผลเต็มที่แล้วให้ใส่ปุ๋ยดังนี้

1) ระยะพักตัว ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือ 10-52-17 ให้ทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้มะขามออกดอกมาก

2) ระยะแตกใบอ่อน ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือ
10-52-17 พ่นทุก ๆ 7 วัน

3) ระยะเริ่มออกดอก ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือสูตร 10-52-17 หรือ 15-30-17 ก็ได้

4) ระยะเริ่มติดฝัก พ่นด้วยสารอิมเบลเสลลิน 1 หลอด (50 มิลลิกรัม) ต่อน้ำ 100 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

5) ระยะติดฝักเล็ก ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

6) ระยะฝักขนาดกลาง ให้ปุ๋ยทางใบสูตรเท่าเช่น 15-15-15 หรือ 20-20-20 อัตราที่ใช้ตามคำแนะนำในสลาก

7) ระยะฝักขนาดใหญ่แล้ว ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 12-22-32 หรือ 6-30-30 อัตราที่ใช้ตามคำแนะนำในสลาก

สำหรับส้ม มะละกอ และขนุน การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร และอัตรา และวิธีการปฏิบัติการเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 54