กลุ่มชุดดินที่ 36

วิธีการใช้เอกสารการจัดการดิน ให้ตรวจสอบว่า พื้นที่ของท่านอยู่ในกลุ่มชุดใด จากแผนที่กลุ่มชุดดิน (62 กลุ่มชุดดิน) หรือรายงานแผนที่ความเหมาะสมของดินกับพืชเศรษฐกิจเบื้องต้นของจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (มาตราส่วน 1:50,000) เมื่อทราบแล้วจึงเลือกใช้เอกสารการจัดการดินตามกลุ่มชุดดินที่ต้องการ

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาล หรือสีแดงปนเหลือง ส่วนมากเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด กับลอนชันของลานตะพักลำน้ำระดับกลางถึงสูง มีความลาดชันประมาณ 2 - 5 % เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตรตลอดปี มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดินชั้นบน pH 5.5-6.5 ส่วนชั้นดินล่างจะเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง pH 6.0-7.5 ได้แก่ ชุดดิน สีคิ้ว เพชรบูรณ์ และปราณบุรี ศรีราชา ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น อ้อย ข้าวโพด ถั่ว สับปะรด และไม้ผลบางชนิด

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินอุ้มน้ำได้ต่ำถึงปานกลาง ในฤดูแล้งน้ำใต้ดินลึก พืชจะขาดน้ำในระยะฝนทิ้งช่วงความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : โดยทั่วไปกลุ่มชุดดินที่ 36 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และปลูกผักบางชนิด ไม่เหมาะสมในการทำนา

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 36

ปลูกพืชไร่ ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การไถเตรียมดินปลูกพืชไร่ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปัญหาดินขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ในบางช่วง ทำแนวรั้วหญ้าแฝกขวางความลาดเทของพื้นที่ ช่วยชลอการไหลบ่าของน้ำที่ผิวดินเมื่อฝนตกหนัก ขุดบ่อดักตะกอน เพื่อช่วยชลอการไหลบ่าของน้ำที่ผิวดิน และยังสามารถใช้น้ำเสริมในการเพาะปลูก นำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำทางพืชมาใช้ การปลูกพืชเป็นแถว ขวางความลาดเทของพื้นที่ การปลูกพืชตระกูลถั่วแซมพืชหลัก เป็นต้น

ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง และดินขาดความชื้นในบางช่วง ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสด แล้วไถกลบลงดินเมื่อปุ๋ยพืชสดออกดอกได้ประมาณ 50 % ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชไร่หลักหรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซมกับพืชหลัก จะช่วยรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินอีกด้วย การใช้ปุ๋ย เช่น

ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50-75 กก./ไร่ สำหรับชุดดินที่มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ ใส่โดยโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน หรือใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ หรือสูตร 25-25-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง สำหรับชุดดินที่มีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ใส่โดยโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบใส่หลังปลูก 20-25 วัน

ข้าวไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี ควรปฏิบัติดังนี้ ครั้งแรก-ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ ใส่หลังข้าวงอก ประมาณ 20 วัน ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 15-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 7-15 กก./ไร่ ใส่ในระยะข้าวตั้งท้องหรือประมาณ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ปัญหาดินมีธาตุอาหารพืชบางอย่างไม่เพียงพอแก่การเจริญเติบโต การใช้ปุ๋ย เช่น

มะละกอ ใส่ปุ๋ยสูตร 14-12-12 หรือ 20-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น ระยะต้นอ่อนถึงก่อนออกดอก หลังจาก 1 ปีขึ้นไปใส่ประมาณ 1-1.5 กก./ต้น

ขนุน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/ครั้ง อายุ 1-3 ปี ใส่ 6 ครั้ง/ปี อายุ 4-6 ปี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หนึ่งครั้งต่อปี อัตรา 20-30 กก./ต้น ใส่ห่างต้น - ก่อนออกดอก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น - ปลายฤดูฝนใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี

มะขามหวาน อายุ 1-2 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 30-50 กก./ต้น/ปี หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ๆ ละ 100, 150 และ 200 กรัม ตามลำดับ

สับปะรด ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 10-25 กรัม/ต้น เมื่อสับปะรด อายุ 3 เดือน โดยใส่ที่กาบใบล่าง - ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-51 อัตรา 10-25 กรัม/ต้น เมื่อสับปะรด อายุ 6 เดือน โดยใส่ที่กาบใบล่าง

ไผ่ตง ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 300-350 กรัม/ต้น/ครั้ง หรือปุ๋ยสูตร 15-30-15 อัตรา 250-300 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ทุกปีตอนต้นฤดูฝน เมื่อไผ่ออกหน่อ และเก็บผลแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่เป็นจุดหรือเป็นหลุมรอบรัศมีทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ

มะพร้าว ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเนื้อธาตุอาหารเท่าเทียมกัน อัตราปุ๋ยที่ใช้ กก./ต้น/ปี ตามอายุมะพร้าวและใส่ปุ๋ยแมกเนเซียม 200-500 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ เท่า ๆ กัน ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน โดยหว่านปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นถึงรอบรัศมีทรงพุ่ม