กลุ่มชุดดินที่ 23

วิธีการใช้เอกสารการจัดการดิน ให้ตรวจสอบว่า พื้นที่ของท่านอยู่ในกลุ่มชุดใด จากแผนที่กลุ่มชุดดิน (62 กลุ่มชุดดิน) หรือรายงานแผนที่ความเหมาะสมของดินกับพืชเศรษฐกิจเบื้องต้นของจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (มาตราส่วน 1:50,000) เมื่อทราบแล้วจึงเลือกใช้เอกสารการจัดการดินตามกลุ่มชุดดินที่ต้องการ

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินทราย บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง สีดินเป็นสีเทา พบจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่ในดินชั้นล่างเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนน้ำทะเล พบในบริเวณที่ลุ่มระหว่างสันหาด หรือเนินทรายชายฝั่งทะเล น้ำแช่ขังลึก 30-50 ซม. นาน 4 - 5 เดือน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวถึงเลวมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ pH ประมาณ 6.0-7.0 แต่ถ้ามีเปลือกหอยปะปนอยู่ pH จะอยู่ 7.5-8.5 ได้แก่ชุดดินวังเปรียง และบางละมุง

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินทรายจัด ฤดูฝนน้ำแช่ขังนาน 4 - 5 เดือน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 23 มีศักยภาพค่อนข้างไม่เหมาะสมในการทำนา และไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมขัง เนื้อดินเป็นทราย และความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 23

ปลูกข้าวหรือทำนา ควรเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1-3 ตัน/ไร่ หรือโดยการไถกลบปุ๋ยพืชสด คือโสนอัฟริกัน เมื่ออายุ 45-60 วัน การไถกลบตอซังข้าว ฟางข้าวหรือการไถกลบวัสดุแกลบลงดินในขณะเตรียมดินย่อมมีผลดีต่อการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุยง่ายต่อการปักดำ หลังการไถกลบควรพักดินไว้ 7-15 วัน ทำการไถแปร แล้วจึงปักดำข้าว พันธุ์ข้าวแนะนำ ภาคตะวันออก ได้แก่ พันธุ์ กข.7 เก้ารวง88 ขาวตาแห้ง17 ขาวปากหม้อ148 ปทุมธานี60 พิษณุโลก60-1 นางมลเอส-4 และเหลืองประทิว123 ภาคใต้ ได้แก่ พันธุ์ กข.13, แก่นจันทร์, พัทลุง60, นางพญา132, เผือกน้ำ43, พวงไร่2, และเฉี้ยง กรณีข้าวนาดำช่วงเวลาปักดำที่เหมาะสมจะมีผลอย่างมากต่อผลผลิตข้าว ข้าวพันธุ์ไวแสงหรือนาปี ควรมีเวลาของการเจริญเติบโตจนข้าวออกรวงประมาณ 120 วัน ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมควรเป็นช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฏาคม อายุกล้าที่เหมาะสมจะใช้ปักดำควรมีอายุ 25-30 วัน เพราะต้นกล้าจะฟื้นตัวได้เร็วหลังปักดำและแตกกอมาก ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรปลูกถี่ ระยะปลูก 20 x 15 ซม. ใช้ต้นกล้า 3-5 ต้น การใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งแรกใส่ปุ๋ยยูเรียรองพื้นช่วงตกกล้า ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ 1 วัน หรือวันปักดำใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ - ครั้งที่ 3 เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำประมาณ 35-45 วันหรือประมาณ 30 วัน ก่อนข้าวออกดอก โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0 )อัตรา 6-10 กก./ไร่

การจัดระบบการให้น้ำในแปลงนา ต้องจัดทำคันนาโดยรอบแปลงปลูกและมีร่องระบายน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในแปลงให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และเพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลง ระยะสำคัญในการให้น้ำแก่ต้นข้าว ซึ่งไม่ควรให้ต้นข้าวขาดน้ำ คือ ระยะปักดำและระยะที่ข้าวสร้างรวงอ่อน ถึงระยะหลังจากข้าวออกดอก 15 วัน และเมื่อต้นข้าวออกรวงได้ 2 สัปดาห์ จะต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด เพื่อให้ข้าวสุกเร็ว เมล็ดแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

ปลูกไม้ผล การปรับสภาพพื้นที่ของกลุ่มชุดดินนี้ เพื่อปลูกไม้ผล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งจะต้องทำคันดินล้อมรอบและทำการยกร่องปลูกและมีร่องระบายน้ำรอบแปลงตลอดจนขุดหลุมปลูกปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 1 หลังปลูกไม้ผลให้ทำการปลูกพืชคลุมดินใช้พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลาย ถั่วซีราโตร ถั่วเวอราโน หรือถั่วคุดซู โดยใช้เมล็ดปลูกอัตรา 1.5 กก./ไร่ หรืออาจจะใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เพื่อรักษาความชื้นในดิน ลดการชะล้างพังทลายของดิน และเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลต่อไป การจัดระบบการปลูกพืชร่วมกับไม้ผล ในช่วง 4 ปีแรกที่ทำการปลูกไม้ผลนั้นควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวของไม้ผล เลือกพืชที่มีอายุสั้นได้แก่ พืชตระกูลถั่ว พืชผัก พืชไร่ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ฯลฯ หลังไม้ผลมีอายุได้ประมาณ 4-5 ปี จึงหยุดการปลูกพืชแซม

มะพร้าว ระยะที่ปลูกระหว่างต้น 6, 9, 8.5 เมตร คือ พันธุ์ต้นเตี้ย ต้นสูง ลูกผสมตามลำดับ ส่วนระยะระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความกว้างของร่อง การเตรียมดินหลุมปลูกให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมดินในหลุมปลูก ในอัตรา 1:7 และควรใช้ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตรองก้นหลุมด้วย หลุมละ 1.5 กก. การใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยมะพร้าวครั้งแรกควรดำเนินการหลังปลูกประมาณ 6 เดือน และหลังจากนั้นควรใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝนช่วงมะพร้าวอายุ 1-5 ปี ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน สูตร 15-15-15 และ 16-16-16 อัตรา 1.0 กก./ต้น คูณอายุต้น ร่วมกับสูตร 0-0-60 อัตรา 1.0 กก./ต้นคูณอายุต้น มะพร้าวอายุตั้งแต่ 6 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 5.0 กก./ต้นและ 16-16-16 อัตรา 5.0 กก./ต้นร่วมกับ สูตร 0-0-60 อัตรา 3.0 กก./ต้น

ปาล์มน้ำมัน ใช้ระยะ 9 x 9 เมตร ในลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ให้ทำการขุดหลุมเป็นรูปตัวยู ขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 60 x 60 x 60 ซม. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน และเมื่อใกล้เวลาปลูกให้ใส่ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตรองก้นหลุม ประมาณ หลุมละ 250 กรัม เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

การปลูกต้นกล้าที่นำมาปลูกควรมีอายุ 12 เดือน ขั้นตอนการปลูกควรปลูกให้ต้นกล้าอยู่ในระดับเดียวกับผิวดิน การปลูกลึกเกินไปจะทำให้ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้ เมื่อปลูกแล้วให้กลบดินรอบโคนต้นให้แน่น โดยการเหยียบหรือใช้ไม้กระทุ้งเพื่อไม่ให้เกิดมีช่องว่างภายในหลุม จากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์หลังปลูกก็ควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่งว่าต้นปาล์มอยู่ในลักษณะที่ปกติ ในต้นที่ปลูกลึกเกินไปก็จำเป็นต้องเอาดินออกให้ยอดปาล์มอยู่เหนือระดับผิวดิน และอีก 6 เดือน ควรทำตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อคัดเลือก ต้นที่มีลักษณะผิดปกติทิ้ง เช่น ต้นที่ลักษณะทรงสูงชะลูด หรือโตเร็วผิดปกติ ซึ่งมักจะเป็นต้นตัวผู้ ซึ่งจะพบประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องปลูกทดแทนด้วยต้นกล้าที่สำรองโดยเร็ว

การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน

 

ปริมาณธาตุ

สูตรปุ๋ย

อัตราการใช้

 

ระยะเวลาใส่

อาหารแนะนำ

ที่แนะนำ

กก./ต้น x อายุปี

วิธีการใส่ปุ๋ย

 

(N-P2O5-K2O)

     
 

กรัม/ต้น x อายุปี

     

เตรียมหลุมปลูก

0-7.5-0

0-3-0

250

รองพื้นบริเวณหลุม

อายุ 1 ปี ใส่ปุ๋ย

400-300-400

12-12-17

2,000 - 2,500

ปลูกแบ่งใส่ปุ๋ยผสม 3

5 ครั้ง

 

13-13-21

2,000 - 2,500

ครั้ง สลับด้วยปุ๋ยเดี่ยว 2

   

ร่วมกับ

 

ครั้ง

 

21-0-0

2,000 - 2,500

 
   

46-0-0

1,000-1,200

 

อายุ 2-4 ปี แบ่ง

420-420-630

13-13-21

3,000-5,000

ใส่ปุ๋ยในวงกลม รัศมี

ใส่ 3 ครั้ง ต้น

 

14-14-21

3,000-5,000

ห่างจากโคนต้น 1.5-2

กลางและปลาย

 

15-15-21

3,000-5,000

เมตร หลังจากกำจัด

ฤดูฝน

 

12-12-17

3,000-5,000

วัชพืชโคนต้น

อายุ 5 ปี ขึ้นไป

1,120-720-1,600

14-9-21

8,000-9,000

 
   

14-9-20

8,000-9,000

 

แบ่งใส่ 3 ครั้ง

 

12-9-21

8,000-9,000

 

ต้นกลาง และ

 

ร่วมกับ

   

ปลายฤดูฝน

 

โบแรกซ์

50-100

 
   

กรัม/ต้น/ปี