กลุ่มชุดดินที่ 17

วิธีการใช้เอกสารการจัดการดิน ให้ตรวจสอบว่า พื้นที่ของท่านอยู่ในกลุ่มชุดใด จากแผนที่กลุ่มชุดดิน (62 กลุ่มชุดดิน) หรือรายงานแผนที่ความเหมาะสมของดินกับพืชเศรษฐกิจเบื้องต้นของจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (มาตราส่วน 1:50,000) เมื่อทราบแล้วจึงเลือกใช้เอกสารการจัดการดินตามกลุ่มชุดดินที่ต้องการ

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนสีน้ำตาล,
น้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีสีน้ำตาลอ่อ , สีเทาอ่อน, สีเทาปนชมพูพบจุดประพวกสีน้ำตาลปนเหลือง สีแดงปนเหลืองหรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง เกิดจากพวกตะกอนลำน้ำ พบตามพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ บริเวณลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ น้ำแช่ขังลึก 30-50 ซม. นาน 2-4 เดือน เป็นดินลึกมาก ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ pH 4.5-5.5 ได้แก่ชุดดินหล่มเก่า ร้อยเอ็ด เรณู และสายบุรี สุไหรปาดี โคกเคียน วิสัย สงขลา บุณฑริก ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่หรือไม้ยืนต้น แต่มีปัญหาเรื่องการแช่ขังของน้ำในฤดูฝน

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ฤดูฝนขังน้ำนาน 2 - 4 เดือน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ

ความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินสำหรับการปลูกพืช : โดยทั่วไปแล้วกลุ่ม
ชุดดินที่ 17 มีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ในการทำนามากกว่าการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักในช่วงฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่หรือพืชผักที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง ถ้ามีแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำชลประทานเข้าถึง

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 17

ปลูกข้าวหรือทำนา ปัญหาสภาพพื้นที่นาบางแห่งมีความลาดเทเล็กน้อย น้ำขังในกระทงนาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ขาดน้ำ แก้ไขโดยปรับกระทงนาให้สม่ำเสมอถ้าเป็นไปได้ นำวิธีการจัดรูปแปลงนามาปฏิบัติ ปัญหาดินเป็นกรดแก้ไขโดยใส่ปูนขาว หรือวัสดุปูนเกษตรอย่างอื่น อัตรา 100 กก./ไร่ หรือตามค่าความต้องการปูน ปัญหาดินค่อนข้างเป็นทรายและมีโครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ แก้ไขโดยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินดังนี้ -ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-2ตัน/ไร่ -ไถกลบตอซังพืชลงดิน -ไถกลบพืชปุ๋ยสุดจากพืชตระกูลถั่ว -ปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ กระถินยักษ์หรือถั่วมะแฮะบริเวณคันนาแล้วทำการตัดใบหรือกิ่งอ่อนสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด พันธุ์ข้าวพันธุ์ที่แนะนำ

1. พันธุ์ไวต่อช่วงแสง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กข.6 กข.8 กข.15 ขาวดอกมะลิ 105 ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาหม้อ 17 ชุมแพ 60 น้ำสะกุย 19 เหนียวอุบล หางยี 17 ภาคใต้ กข.13 พัทลุง60 แก่นจันทร์ นางพญา 132 พวงไร่ 2 เผือกน้ำ 43 เฉี้ยง ภาคตะวันออกและภาคกลาง กข.77 เก้ารวง 88 ขาวตาแห้ง 17 ขาวปากหม้อ ปทุมธานี 60

2. พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทุกภาค กข.1 กข.2 กข.3 กข.4 กข.5 กข.7 กข.9 กข.10 กข.11 กข.21 กข.23 กข.25 สุพรรณบุรี 60 พิษณุโลก 60-2 และพิษณุโลก 90

ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือขาดธาตุอาหารพืชบางชนิด ข้าวแก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยเคมี

1. อัตราปุ๋ยสำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง ครั้งแรก ปุ๋ยยูเรียช่วงตกกล้า อัตรา 5-10 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ปุ๋ย 16-16-8 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ใส่ก่อนปักดำ ครั้งที่ 3 ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) อัตรา 10-15 กก./ไร่ เป็นปุ๋ยแต่งหน้า

2. อัตราปุ๋ยสำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยยูเรียรองพื้น ช่วงตกกล้า อัตรา 10-15 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือสูตรอื่น ที่มีเนื้อปุ๋ยเท่าเทียมกัน อัตรา 20-25 กก./ไร่ ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) อัตรา 5-10 กก./ไร่ เป็นปุ๋ยแต่งหน้า

ปลูกพืชไร่ ปัญหาดินมีการระบายน้ำเลวและน้ำแช่ขังในฤดูฝน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกไม้ผล

ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง 1) ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยทำการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ครั้งที่ 1 ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อต้นถั่วอายุ 25 วัน 2) ใส่โบรอนในรูปของบอแรกซ์ 0.9 กก./ไร่
แก้ปัญหาเมล็ดกลวง 3) ใส่ปุ๋ยโมลิบดีนัมในรูปโซเดียมโมลิบเดทหรือแอมโมเนียมโมลิบเดท อัตรา 100-200 กก./ไร่

ข้าวโพดหวาน ใส่ปุ๋ย 24-12-12 อัตรา 40-50 กก. หรือ 15-15-15 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย 10-15 ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่รองพื้นก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุ 25 วัน

ข้าวโพดฝักอ่อน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30-35 กก./ไร่
ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย 25 กก./ไร่ หรือปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้งดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่เมื่อต้นอายุ 7-10 วัน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อต้นอายุ 25 วัน ครั้งที่ 3 ใส่เมื่อต้นอายุ 35 วัน

ปอแก้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก..ไร่ โดยใส่สองข้างแถว เมื่ออายุ 20-25วัน

ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ปลูกโดยการปรับปรุงพื้นที่นาให้เป็นสวนไม้ผล จัดระบบการปลูกพืชแบบไร่นาสวนผสม ปัญหาดินมีการระบายน้ำเลว แก้ไขโดยการยกร่องปลูกดังนี้คือ

1) วางแนวรองให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร และท้องร่องกว้าง 1.0-1.5 เมตร ปาดหน้าดินมาที่กลางสันร่อง

2) ขุดดินจากคูมากลบที่ขอบสันร่องให้สูง 50 ซม.

3) ทำคันดินให้ล้อมรอบสวน เพื่อป้องกันน้ำท่วม

ปัญหาดินเป็นกรด แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว อัตรา 100 กก./ไร่ ใส่ในช่วงระหว่างการเตรียมดินปลูกเริ่มแรก หรือใส่ในช่วงเตรียมหลุมปลูกอัตรา 3-5 กก.ต่อต้น

ปัญหาดินค่อนข้างเป็นทรายและมีโครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ แก้ไขโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินดังนี้

1. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 20-50 กก./ต้น ในช่วงเตรียมหลุมปลูก

2. ปลูกพืชคลุมดินซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วเซอราโตร ถั่วฮามาต้า และถั่วคุดชู ใช้เมล็ดอัตรา 1.5 กก./ไร่

3. ใช้วัสดุเศษพืชคลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว หรือสลายตัวจะเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น มะม่วง ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา
1-2 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 4 ระยะก่อนติดผล คือเดือน มีนาคม พฤษภาคม. สิงหาคม และ ตุลาคม โดยแบ่งใส่ 4 ครั้งละเท่า ๆ กัน และระยะให้ผลผลิตแล้วแบ่งใส่ 3 ครั้ง โดยเป็นช่วงหลังเก็บผลผลิต ช่วงก่อนออกดอก 2-3 เดือนและช่วงหลังจากติดผล

มะละกอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีเนื้อธาตุอาหารทัดเทียมกันอัตรา 1 กก./ต้น/ปี ใส่ในช่วงหลังออกดอก

มะพร้าว ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-5 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและปลายฝน ใส่เพิ่มตามอายุของมะพร้าวและใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต 200-500 กรัม/ต้น/ปี (หรือใส่ปุ๋ยเท่าอายุ เช่น 2 ปี ใส่ 2 กก./ต้น/ปี)

มะม่วงหิมพานต์ ใส่สูตร 12-24-12 หรือ 15-15-15 อัตรา 0.5-1 กก./ต้น/ปี ใส่เพิ่มตามอายุของต้น โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ในเดือน มีนาคม พฤษภาคม สิงหาคม และ ตุลาคม