การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก |
เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินในสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น |
|
|
|
-
-
-
การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร บนที่ดอน
หรือที่สูง จะใช้ในการ เพาะปลูกพืชไร่และไม้ผลเป็นหลัก
แต่พื้นที่เหล่านี้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่มีระบบการ
ชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรใช้ในการ เพาะปลูก
จึงเป็นพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝน ปัจจุบัน
แม้ว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ที่ตกในแต่ละปี จะมีปริมาณเท่า ๆ
หรือใกล้เคียงกัน |
|
|
-
-
-
แต่เกษตรกรก็มักประสบปัญหาภัยแล้ง
หรือภาวะพืชที่เพาะปลูกขาด แคลนน้ำเป็นประจำ
ก่อความเสียหายแก่เกษตรกรและเศรษฐกิจ ของประเทศ เป็นอย่างมาก
การแก้ไขปัญหาภาวะพืชขาดแคลนน้ำในพื้นที่ เกษตร
น้ำฝนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการเก็บรักษา
ความชุ่มชื้นไว้ในดิน ให้ได้อย่างยาวนาน
แต่เท่าที่ผ่านมาตราบจนปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่
่ในเขตพื้นที่เกษตร น้ำฝนยังคง เพาะปลูกติดต่อกันมา
โดยมิได้มีมาตรการใด ในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้น ในดินเลย
ดังจะเห็นได้จากกการที่ฝนตก ลงมา ก็ปล่อยให้น้ำฝนเป็นจำนวนมาก
ไหลบ่าออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำลำคลอง
ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสีย
น้ำไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วน้ำฝนที่ไหลบ่า ยังจะกัดเซาะ
และพัดพาหน้า ดินซึ่งมีปุ๋ยและธาตุอาหารพืชที่สำคัญ ให้สูญเสีย
ไปอีกด้วย |
|
|
|
|
|
-
-
มาตรการในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน
ซึ่งเป็นวิธีที่ ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ
ได้แก่การปลูกหญ้าแฝกแถวเดียว เป็นแนวรั้วตามแนวระดับ
ขวางความลาดเทของพื้นที่ (ดังรายละเอียด
เอกสารคำแนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์ หญ้าแฝก
เพื่อป้องกันการชะล้าง และพังทลายของดิน)
โดยแนวรั้วหญ้าแฝกดังกล่าว จะทำหน้าที่ลดแรงปะทะ
ของน้ำฝนที่ไหลบ่า
ทำให้น้ำแผ่กระจายและไหลซึมผ่านแนวรั้วหญ้าแฝก ซึ่งจะทำให้น้ำ
มีโอกาสไหลซึมลงเก็บกักรักษาไว้ในดินได้ทั่วพื้นที่
ซึ่งจะทำให้ ดินมีความชุ่มชื้น
เป็นประโยชน์ต่อพืชหลักที่ปลูกไว้ต่อไป นอกจากมีลักษณะพิเศษของหญ้าแฝกที่แตกต่างไปจากหญ้าอื่น
ๆ โดยทั่วไปก็คือ ระบบรากฝอย ของหญ้าแฝก จะแข็งแรงและหนาแน่น
สามารถชอนไชหยั่งลึกลงไนดิน ตามแนวดิ่ง ได้ถึง 3 เมตร
และรากจะไม่เจริญแผ่ขยายออกทางด้านกว้าง จึงไม่แย่ง
อาหารของพืชหลักที่ปลูกใกล้เคียงกัน
หญ้าแฝกมีรากแกนและรากแขนงอวบใหญ่ จึงทำให้เกาะยึดดิน
และดูดซับน้ำไว้ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเมื่อปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับ
ขวางความลาดเทของพื้นที่แล้วนอกจากต้นที่เจริญแตกกอ
อัดกันแน่นเป็นกำแพง อยู่เหนือดิน
แล้วรากของหญ้าแฝกก็จะสานกันแน่น เป็นกำแพงอยู่ในดิน
ทำหน้าที่เกาะ ยึดติด
และดูดซับเก็บความชื้นไว้ในดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย |
-
-
วิธีการและรูปแบบการปลูก ตามลักษณะพื้นที่
-
จากหลักการและลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์
ของหญ้าแฝกในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง
การปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในดิน สำหรับปลูกไม้ผล
ก็ใช้หลักการเดียวกัน ทั้งนี้วิธีการและ รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก
ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ที่เกษตรกรสามารถเลือก
ใช้รูปแบบหนึ่งตามความ เหมาะสม ดังต่อไปนี้
|
|

|
-
- 1. พื้นที่ที่มีความลาดเทปานกลาง -
ต่ำ
-
บนพื้นที่ที่มีความลาดเท
จะเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการ ชะล้าง พังทลายของดิน
จากน้ำฝนที่ไหลบ่า ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน
และกักน้ำที่ไหลบ่าไว้ในดิน ให้ชุ่มชื้นอย่างยาวนาน
จึงควรที่จะมีการปลูกหญ้าแฝก ตามแนวระดับขวาง ความลาดเท
ของพื้นที่
|
|
|
-
-
บนพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอ ความถี่ห่าง
ของแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกขึ้นอยู่กับระดับความสูง ต่ำ ของพื้นที่
พื้นที่ที่มีความลาดเทสูง แนวหญ้าแฝกก็จะ
ถี่กว่าพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำ แต่ทั้งนี้ ความห่าง
ระหว่างแนวหญ้าแฝกที่จะปลูก จะต้องอยู่ห่างกัน
ไม่เกินค่าสูงต่ำ คามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ซึ่งจะหาได้
จากการใช้สายยางหาระดับแบบช่างไม้ |
|
|
|
|
|
-
ดังนั้น ในพื้นที่
สวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดเท
สม่ำเสมอนั้น จึงกระทำได้ง่าย ทั้งนี้เมื่อกำหนดแนว
ที่จะปลูกได้แนวแรกแล้ว แนวต่อ ๆ ไป ก็ใช้จำนวนแถว
ของไม้ผลที่จะปลูกเป็นตัวกำหนด เช่นในแนวแรกมี ไม้ผล 3 แถว
ดังนั้นทุก ๆ 3 แถวของไม้ผล ก็จะปลูก หญ้าแฝก 1 แนว
จนตลอดพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หญ้าแฝกได้ทำหน้าที่
อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแนวปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
ก็จะต้องวางแนวปลูก ตามแนวระดับขวาง ความลาดเทของพื้นที่ด้วย
และการปลูกหญ้าแฝกระหว่าง แถวไม้ผล จะปลูกห่าง
จากโคนไม้ผลที่จะปลูก 1.50-2.00 เมตร ดังนั้น ความห่าง
ของหญ้าแฝก ตามแนวดิ่งอาจน้อยกว่า 1.50 เมตร หรือ เกินกว่า
1.50 เมตร เล็กน้อยก็ได้ ตามความเหมาะสมของแถวไม้ผลที่ปลูก |
-
-
สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ ที่จะใช้
ในการปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้น การปลูกหญ้าแฝก
เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน กำหนดได้จากสภาพความ
ลาดเทของพื้นที่ ถ้าพื้นที่มีความลาดเทค่อนข้างสูงแล้ว
จะต้องพิจารณาถึงการป้องกันการสูญเสียดินจากน้ำ
ที่ไหลบ่าด้วยดังนั้น ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว การปลูก
หญ้าแฝกก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดิน |
|
|
โดยวางแนว ปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเท
ของพื้นที่จะตลอดพื้นที่ แต่ละแนวจะห่างกันตามค่า
ความสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ดังรายละเอียด เอกสาร
คำแนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก เพื่อการป้องกัน การพังทลาย
ของดิน |
สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ
แต่มีความลาดเทเพียงเล็กน้อย
จะมีปัญหาการสูญเสียดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่าไม่มากนัก
การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาความชุ่มชื้นในดิน กระทำได้ 2
วิธีด้วยกัน คือ |
ก.ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล |
ทั้งนี้โดยปลูกเป็นวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น
รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร |
ข.ปลูกแบบครึ่งวงกลม |
โดยการปลูกหญ้าแฝกห่างจากโคนไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร แบบครึ่ง
วงกลมหงายรับน้ำฝนที่จะไหลบ่าลงมากักเก็บไว้ |
การปลูกหญ้าแฝกแบบวงกลมและแบบครึ่งวงกลมนี้
มีการเตรียมดินและการ ปลูกรวมทั้งการดูแลรักษาเช่นเดียวกัน
ดังได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ซึ่งการปลูกทั้ง 2 แบบนี้
จะเป็นการควบคุมเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเฉพาะต้นซึ่งเมื่อหญ้าแฝก
เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ควรมีการตัดใบหญ้าแฝกให้เหลื่อสูงประมาณ 40
เซนติเมตร เป็นประจำ 2-3 เดือน ต่อครั้ง
โดยนำใบหญ้าแฝกที่ตัดได้นำไปคลุก โคนไม้ผล
จะช่วยลดการสูญเสียของน้ำในดินจากการระเหยได้เป็นอย่างดี นอกจาก
นี้ ใบหญ้าแฝกก็จะค่อย ๆ ผุพังสลายตัว
เป็นปุ๋ยให้แก่ไม้ผลที่ปลูกได้อีกด้วย |
- 2. พื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท
หรือพื้นที่ระดับ
บนพื้นที่ที่ไม่มีความลาดเทหรือพื้นที่ระดับ
จะไม่มี ปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียดิน แต่อย่างไร ก็ตาม
แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ราบเพียงใดก็ตาม
การไหลบ่าของน้ำฝนก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น
วิธีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษา ความชุ่มชื้นในดิน
ในพื้นที่ระดับ |
|
|
|
|
|
โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรน้ำฝน
จะปลูกเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ในพื้นที่ โดยให้ไหลบ่า
ออกจากพื้นที่ให้น้อยที่สุด ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝก ก็จะปลูก
เป็นแถวเดี่ยวล้อมรอบพื้นที่
และบริเวณที่ปลูกไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝกระหว่าง แถวไม้ผลที่ปลูก
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตัดใบคลุมโคนไม้ผล เพื่อลดการ
สูญเสียน้ำในดินจากแสงแดดและนอกจากนี้ อาจจะปลูกแบบวงกลม รอบโคน
ต้นไม้ผลดังกล่าวมาแล้ว ก็ได้เช่นกัน |
การปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้นนั้น
มีข้อเสียที่ว่าจะต้องใช้กล้าหญ้า
เป็นจำนวนมากกว่าปลูกแบบเป็นแถวตรง นอกจากนี้ การเตรียมดิน
หรือการไถ พรวน เพื่อปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ไม้ผล
ยังไม่ให้ผลผลิต ก็กระทำได้ยากกว่า
ส่วนข้อดีที่นอกเหนือจากการเก็บกักความชุ่มชื้น
ก็คือจะได้ผลผลิตจากใบหญ้า เพื่อใช้ในการคลุมดินสูง กว่าวิธีอื่น ๆ |
|
|
|
|