 |
คำแนะนำที่
1 : ใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมัน |
|
|
|
- โดยประเมินความต้องการปุ๋ยจากระดับธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน
ถ้าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม อยู่ในช่วงระดับค่าวิกฤติ (คลิกดูตารางค่าวิกฤติ)
ต้องใส่ปุ๋ยในอัตราเดิมตามปกติในปีต่อไป
- ถ้าระดับธาตุอาหารในการวิเคราะห์ใบ
น้อยกว่า ค่าต่ำสุดของระดับวิกฤติ
ควร เพิ่มปุ๋ย
ธาตุอาหารชนิดนั้น อีกร้อยละ 25 หรือ 1 ส่วนใน 4 ส่วน ของการใส่ปุ๋ยในปีต่อไป
ตัวอย่างเช่น ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม ใส่เพิ่มอีก
1 ใน 4 เท่ากับ 0.25 กิโลกรัม (1 หารด้วย 4) หรือ 250 กรัม (1 กิโลกรัม
เท่ากับ 1,000 กรัม) ดังนั้นในปีที่ 4 ใส่ปุ๋ย 1.25 กิโลกรัม (1+0.25)
- ถ้าระดับธาตุอาหารในการวิเคราะห์ใบ สูงกว่า
ค่าสูงสุดของระดับวิกฤติ ต้อง
ลดปุ๋ย ธาตุอาหารชนิดนั้นลงอีก
ร้อยละ 25 หรือ 1 ส่วนใน 4 ส่วน ของการใส่ปุ๋ยในปีต่อไป
ตัวอย่างเช่น ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม ลดลงอีก
0.25 กิโลกรัม ดังนั้นในปีที่ 4 ใส่ปุ๋ย 0.75 กิโลกรัม (1-0.25)
- คลิกอ่านวิธีเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันเพื่อนำไปวิเคราะห์ธาตุอาหาร
|
|
|
 |
คำแนะนำที่ 2 : ใส่ปุ๋ยโดยสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของใบปาล์มน้ำมัน |
|
|
 |
ใบปาล์มน้ำมันไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร |
|
- ใส่ปุ๋ยอัตราเดิมตามปกติในปีต่อไป ตามตารางที่ 1 (คลิกดูตาราง)
ใส่ปุ๋ยในปีที่ 4 เท่ากับปีที่ 3 โดยปุ๋ยฟอสฟอรัสใช้
0-3-0 แทน 18-46-0 จึงใส่ในปริมาณเพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ใส่ปุ๋ย 21-0-0
เพิ่มขึ้นด้วย
|
 |
ใบปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดธาตุอาหาร
พบ 1 ใน 10 ของจำนวนต้นปาล์ม |
|
- เพิ่มปุ๋ยธาตุอาหารชนิดที่ขาด
อีกร้อยละ 25 หรือ 1 ส่วนใน 4 ส่วน ของการใส่ปุ๋ยในปีต่อไป
ตัวอย่างเช่น ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม ใส่เพิ่มอีก
1 ใน 4 เท่ากับ 0.25 กิโลกรัม (1 หารด้วย 4) หรือ 250 กรัม (1 กิโลกรัม
เท่ากับ 1,000 กรัม) ดังนั้นในปีที่ 4 ใส่ปุ๋ย 1.25 กิโลกรัม (1+0.25)
- คลิกดูลักษณะการขาดธาตุอาหารของใบปาล์มน้ำมัน
|
|
|
|
|