การเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมัน เพื่อวิเคราะห์ระดับธาตุอาหาร
 เครื่องมือ
  1. เสียมหรือเคียวสำหรับตัดทางใบ
  2. กรรไกรตัดแต่งสำหรับตัดใบย่อย
 
 อุปกรณ์
  1. ถุงสำหรับใส่ตัวอย่างใบและป้ายชื่อ
  2. ปากกาสีสังเคราะห์แบบถาวร (marker pen)
  3. น้ำกลั่น
  4. ผ้าสะอาด
 ขั้นตอน
  1. เก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันจากทางใบที่ 17 และเก็บจากต้นที่กำหนดไว้ ในการเก็บตัวอย่างใบ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
  2. ให้เก็บตัวอย่างปาล์มน้ำมัน ในแต่ละแปลงย่อยของสวน อย่างน้อยประมาณ ร้อยละ 1
  3. ทำการบันทึกต้นที่ผิดปกติ หรือต้นแสดงอาการขาดธาตุ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) โบรอน (B) และทองแดง (Cu)
  4. เก็บตัวอย่างในตำแหน่งทางใบที่ 17 โดยให้นับจากใบแรกที่เปิดเต็มที่แล้ว ที่บริเวณยอดของปาล์มน้ำมัน (ทางที่ 1) แล้วนับลงมา 2 รอบ (รอบของปาล์มน้ำมัน คือ 8 ทางต่อรอบ) ตัดทางใบรอบที่ 3 ในแนวที่ใกล้เคียงกับทางที่ 1
  5. ตัดใบย่อยบริเวณตรงกลางทาง จำนวน 3-6 ใบย่อยของแต่ละด้าน
  6. ใบย่อยทั้งหมด ให้ตัดส่วนปลายทั้งสองข้างออก ให้เหลือตรงกลาง 20-30 เซนติเมตร
  7. นำใบย่อยทั้งหมดที่ทำการเก็บตัวอย่าง จากแต่ละแปลงย่อย ใส่รวมกันในถุงพลาสติก ที่เขียนป้ายบอกแปลงเรียบร้อยแล้ว
  8. ใบย่อยทั้งหมดที่ตัดแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำ โดยต้องระวังไม่ให้แต่ละตัวอย่างปนกัน
  9. เอาก้านทางใบ และขอบใบออก ส่วนแผ่นใบที่เหลือให้รีบนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว ข้อควรระวัง ให้เก็บไว้ในที่ร่ม แห้ง และเย็น


ลักษณะการเวียนของทางใบปาล์มน้ำมัน และตำแหน่งทางใบที่ 1, 9, 17, 25
ขั้นตอนการทำตัวอย่างใบก่อนนำไปอบ
ขั้นตอนใบปาล์มน้ำมันก่อนและหลังการอบ และการบดละเอียด
 เวลา
  1. ให้ทำในเวลาเดียวกันของแต่ละปี ปีละครั้ง โดยหลีกเลี่ยงช่วงฝนตกหนัก หรือแล้งจัด
  2. การเก็บตัวอย่างใบในแต่ละครั้ง ควรเก็บหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน จะไม่ทำให้ผลของปุ๋ยเหล่านั้นกระทบต่อผลการวิเคราะห์
 การบันทึก
  1. วันที่ทำการเก็บตัวอย่าง
  2. จำนวนต้นที่ทำการเก็บตัวอย่าง
  3. อาการผิดปกติที่พบเห็นในระหว่างการเก็บตัวอย่าง
 ส่งตัวอย่างใบไปวิเคราะห์ได้ที่ หน่วยงานกรมวิชาการเกษตร
  1. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  2. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  3. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น
  4. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี
  5. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท
  6. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี
  7. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  8. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่)
  9. กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
กลับไปหน้าคำแนะนำ
หน้าถัดไป 
ย้อนกลับ